2023 Notable Event Timeline

2023 Notable Event Timeline

Crypto Events Overview

January

13 Jan

Crypto.com cuts 20% jobs amid ‘significant damage’ to industry from FTX

Kris Marszakek CEO ของ Crypto.com ประกาศเลิกจ้างพนักงาน 20% ทั่วโลกจากเหตุปัจจัยเรื่องสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ได้เป็นไปตามคาด ซึ่งถือว่าเป็นการปลดอีกรอบที่เยอะ จากก่อนหน้าที่มีการปลดไปแล้ว 2,000 คน ในกลางปี 2022

18 Jan

Silvergate reports $1B net loss in the fourth quarter of 2022

SEC ได้ออกมารายงานว่าตอนนี้ Sivergate มีการขาดทุนสุทธิอยู่ที่ $1B พร้อมทั้งรายงานอีกว่า เงินฝากของลูกค้าปัจจุบันอยู่ที่ $7.3B ซึ่งน้อยลงจากปีที่แล้วที่มีเงินฝากที่ $12B และส่งผลให้ในวันที่ 5 มกราคม 2023 ที่ผ่านมาทำให้ Silvergate ต้องปลดพนักงานเพิ่มไปอีก 200 คน หรือคิดเป็น 40% ของพนักงานทั้งหมด

19 Jan

Genesis files for Chapter 11 Bankruptcy

Genesis Global Holdco (บริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์สำหรับลูกค้าสถาบัน)
Genesis Global Capital (บริษัทให้กู้ยืมสินเชื่อสำหรับลูกค้าสถาบัน)
Genesis Asia Pacific (บริษัทให้กู้ยืมสินเชื่อสำหรับลูกค้าสถาบัน)
ได้ยื่นคำร้องคุ้มครองการล้มละลายใน Chapter 11 ต่อศาลล้มละลายสหรัฐฯ
แต่ Genesis Global Trading  (ตลาดซื้อขาย Spot และ Derivatives) ยังคงดำเนินการปกติ

20 Jan

Genesis Global ยื่นขอคุ้มครองการล้มละลายบทที่ 11 ที่ศาลแขวงกลางนิวยอร์ก

Genesis Global ได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองการล้มละลาย Chapter 11 ที่ศาลแขวง New York จากการที่ FTX ได้ล้มละลายและเข้ากระบวนการ Chapter 11 ในปลายปีที่ผ่านมา ก็ทำให้ Genesis ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งถูกกดดันจาก Gemini ที่ได้มีการฝากเงิน $900M ไว้ที่ Genesis

20 Jan

Genesis Owes Over $3.5B to Top 50 Creditors

CoinDesk รายงานว่า Genesis เป็นหนี้โดยประมาณ $3.5B โดยมีเจ้าหนี้ดังนี้

  • Gemini (CEX) $766M
  • Cumberland DRW (CEX) $18.7M
  • Mirana by ByBit (Fund) $151.5M
  • MoonAlpha Finance (Babel Finance) $150M
  • VanEck’s New Finance Income Fund $53M
  • Heliva International Corp. (CFO MANA) $55M
  • Plutus Lending $30M
  • Stellar Development Foundation $13M
  • Decentraland treasury $25.4M

23 Jan

Gemini lays off 10% of staff amid troubles at Genesis, DCG: The Information

จากการที่มีเงินถูกล็อกไว้ที่ Genesis ทำให้ Gemini ประกาศเลิกจ้างพนักงาน 10% ซึ่งนับเป็นรอบที่ 3 ในรอบ 8 เดือนที่ผ่านมา และทาง Gemini ก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา เพื่อเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาระหว่าง Gemini และ Genesis


February

1 Feb

Cardano coins new name for its ADA-backed stablecoin Djed

Cardano ได้เปิดตัว Algorithmic StableCoin ที่ชื่อว่า DJED บน Cardano Mainnet โดยได้รับความร่วมมือกับ COTI ในการพัฒนา Algorithmic StableCoin ตัวนี้นานเป็นเวลา 1 ปี โดย DJED จะ Peged กับค่า US Dollar และ Backed ด้วย ADA

9 Feb

Stablecoin Issuer Paxos Is Being Investigated by New York Regulator

PASOX ที่เป็นผู้ออกเหรียญอย่าง Pax dollar (USDP) และ Binance USD (BUSD) กำลังได้รับการสอบสวนจาก New York State Department of Financial Services (NYDFS) ซึ่งเป็นหน่วยงานของภาครัฐที่คอยควบคุมผลิตภัณฑ์ทางการเงินใน New York และเหมือนทางธนาคารกลางสหรัฐมีแผนที่จะฟ้อง Pasox จากการที่ออกเหรียญ BUSD ว่าเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่ได้ลงทะเบียน แต่อย่างไรก็ดี ทาง Paxos ก็ได้ออกมาโต้แย้งว่าปัจจุบัน Paxos ถือใบอนุญาต Virtual Currency หรือเรียกว่า “BitLicenses” ที่เป็นใบอนุญาตที่ออกโดย NYDFS อยู่ โดย ณ ปัจจุบันเหรียญ BUSD มี MCap ที่ $3.388B เป็นอันดับที่ 4 รองจาก USDT USDC DAI ตามลำดับ

และหลังจากที่ SEC ได้แจ้งกับทาง Paxos ว่ามีแผนว่าจะมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น ทาง Paxos ก้ได้ออกมาตอบโต้ว่า ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าเหรียญ BUSD ว่าเป็นหลักทรัพย์ แต่อย่างไรก็ดีทาง Paxos ก็ได้ออกมาประกาศต่อว่า จะหยุดออก BUSD ตามคำสั่งของ NYDFS ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2023 โดยสกุลเงิน US Dollar จะเก็บไว้ที่ Bankrupty remote accounts และหลังจากที่ BUSD ถูกระงับการ mint ทำให้ MCap มีแนวโน้มที่ลดลง จนทำให้ยอด Net Outflows บน Binance อยู่ที่ $831M ภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งนับเป็นการไหลออกของเงินที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2022 จากเหตุการณ์ FTX

28 Feb

Ethereum testnet successfully forks in Shanghai upgrade rehearsal

Sepolia Testnet ที่เป็นเครือข่าย Testnet ของ Ethereum ประสบความสำเร็จในการจำลองการ Hard fork โดยเบื้องต้นปัจจุบันทาง Ethereum ได้ติดตั้งบน Testnet ไปแล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ Shapell และ Capella ก่อนที่จะมีการ Update ครั้งใหญ่ในเดือนมีนาคม อย่าง Shanghai Hard Fork บน Mainnet


March

2 Mar

Ethereum Says ERC-4337 Deployed, Tested, Beginning Era of Smart Accounts

Ethereum ได้มีการ Deployed Feature ที่มีชื่อว่า “Account Abstraction” ซึ่งถือเป็นการ Update Feature ที่สำคัญที่ทำให้ผู้ใช้งาน (Users) สามารถ Recovery Wallet ของตัวเองได้ แม้ Private Key จะหายก็ตาม โดยมาตรฐานใหม่นี้จะเรียกว่า “ERC-4337” ที่จะถูก Deployed หรือฝังเข้าไปในตัว Smart Contract เลย ที่เรียกว่า “EntryPoint”

Vitalik Buterin เคยทวีตถึง ERC-4337 เมื่อเดือนตุลาคม 2022 ที่ผ่านมาว่า Acccount Abstraction เป็นแนวคิดที่จะทำให้ Crypto Wallet ของ User นั้นกลายเป็น Smart Contract Account เพื่อทำให้ Wallet นั้น ๆ เป็นมิตรกับผู้ใช้งานหรือมีความ User-Friendly มากยิ่งขึ้น การนำแนวคิด Account Abstraction มาใช้ จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ User มากขึ้นในเรื่องของ Automatic Payments Two-Factor Authentication และรวมถึงการ Recovery Wallet อีกด้วย โดยเบื้องต้นตอนนี้สามารถเข้าถึงได้แล้วบนเครือข่าย Blockchain อย่าง Ethereum, Polygon, Optimism, Arbitrum, BNB Chain, Avalanche และ Gnosis Chai

7 Mar

Here’s how Binance is mitigating its stablecoin needs after BUSD ban

จากเดือนที่ผ่านมา ที่ทาง New York State Department of Financial Services (NYDFS) ได้ยื่นฟ้องถึง Paxos ที่บอกว่าเหรียญต่าง ๆ ที่ออกโดย Paxos อย่าง USDP และ BUSD ว่าเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่ได้ลงทะเบียน ทำให้ทาง Binance เองก็กำลังมองหา StableCoin ทางเลือกอื่น ๆ  เพิ่มเติมอย่าง TUSD ที่เป็น Decentralized Stablecoin ที่ Peged กับค่า US Dollar และจากรายของ Lookonchain บอกว่า Binance ได้มีการ Mint เหรียญ TUSD เพิ่มจำนวน 180M $TUSD ระหว่างวันที่ 16-24 กุมภาพันธ์

8 Mar

Silvergate Capital Corporation will ‘voluntarily liquidate’ Silvergate Bank

Silvergate Capital Corporation ที่เป็นบริษัทแม่ของ Silvergate Bank ประกาศว่าจะ “เลิกกิจการโดยสมัครใจ” และปิดการดำเนินงาน Silvergate Bank เนื่องจากปัญหาเรื่องสภาพคล่องที่เกิดขึ้นจากหลาย ๆ ปัญหาตั้งแต่เหตุการณ์ล่มสลายของ FTX รวมถึงสภาพที่ไม่ค่อยดีของตลาดคริปโตเมื่อปลายปีที่ผ่านมา จนนำไปสู่ Bank-Run จนทำให้ใน Q4 2022 Silvergate ขาดทุนสุทธิ $1B และจากรายงานของ Cointelegraph บ่งชี้ว่า ใน Q3 2022 มี Volume บนเครือข่าย Silvergate Exchange Network อยู่ที่ $112.6B ลดลงประมาณ $50B ใน Q3 2022 เมื่อเทียบกับ Q3 2021

และจากรายงานของ JPMorgan มองว่าหลังจากที่ Silvergate Bank ได้ประกาศยุติดำเนินกิจการไปนั้น เป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างมากในการที่จะหาบริษัทมาแทนที่ได้ เนื่องจาก Silvergate Bank เป็นหมือน Gateway ใหญ่ที่เชื่อมกับลูกค้าสถาบันมากกว่า 1,000 แห่ง อย่างเช่น Exchange, Stablecoin Issuer, Digital Asset Management และอีกมากมาย บริษัทที่จะมาแทนที่ได้นั้นจะต้องมีระบบประมวลผลที่ค่อนข้างเร็ว และปลอดภัย ซึ่ง ณ ปัจจุบันลูกค้าหลายรายของ Silvergate Bank ก็กำลังเริ่มไปใช้บริการของธนาคารอื่น อย่างเช่น Signature Bank (SBNY), Provident Bancorp (PVBC), Metropolitan Commercial Bank (MCB) และ Customers Bancorp (CUBI)

10 Mar

Silicon Valley Bank shut down by California regulator

Silicon Valley Bank (SVB) นับเป็นธนาคารที่ใหญ่ติด Top 20 ของสหรัฐอเมริกา มีทั้งหมด 17 สาขาทั่วรัฐ California และ Massachusetts ซึ่งเป็นธนาคารที่มีจุดเด่นเรื่องการให้บริการด้านการเงินแก่พวก Venture Capital ดัง ๆ ต่าง ๆ เช่น A16Z และ Sequoia ถูกสั่งให้ปิดกิจการโดยหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐ Californai โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งนับเป็นธนาคารประกันเงินฝากแห่งแรกของ Federal Deposite Insurance Corporation ที่สั่งให้ถูกปิดกิจการในปี 2023

หลังจากที่ SVB ถูกสั่งให้ยุติกิจการ ทาง Pantera Capital ที่เป็น Venture Capital ชื่อดังได้ออกมาประกาศว่ามีสินทรัพย์ค้างอยู่ใน SVB จำนวนหนึ่ง แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่ามีค้างอยู่ที่เท่าไหร่

และการที่ Silicon Valley Bank ได้ยุติการให้บริการนั้น ส่งผลให้เกิดความวุ่นวายใน Curve 3pool เนื่องจาก Curve 3pool มีสัดส่วนของ USDC ที่ก่อนหน้านั้นทาง Circle ที่เป็นผู้ออกเหรียญ USDC เคยประกาศไว้ว่ามีเงินทุนสำรอง $43B ที่ฝากไว้กับทาง Silicon Valley Bank เลยทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลว่าเงินทุนสำรองดังกล่าวของ Circle จะถูก Lock ไว้ที่ SVB จนส่งผลให้สัดส่วนของ USDC และ DAI มีสัดส่วนที่สูงขึ้น ซึ่งสวนทางกับ USDT ที่เหลือเพียง 7% ใน 3Pool

จากรายงานของ CoinDesk และ Nansen บอกว่า USDC ถูก Redeemed ไปเป็น USD มากกว่า $1.6B นับตั้งแต่มีประกาศยุติการดำเนินงานของ SVB จนทำให้ Market Cap ของเหรียญ USDC ลดลงจาก $42.4B เหลือ $4.43B และหลังจากนั้นไม่นานทาง Circle ก็ได้ออกมาประกาศว่ามีเงินสดที่ติดอยู่ใน SVB ทั้งสิ้น $3.3B จนทำให้เหรียญ USDC มีการหลุด Peged กับ $1 ประมาณ -2% หลังจากประกาศของ Circle

แต่อย่างไรก็ดีก่อนที่ SVB จะถูกหน่วยงานกับกำดูแลสั่งให้ปิดกิจการ ทาง Circle ได้มีการกระจายความเสี่ยงของเงินสำรอง โดยการฝาก USDC จำนวน $5.4B ไว้ที่ BNY Mellon และเงินสด $1B ไว้ที่ Customers Bank และทาง Circle ก็ได้ออกมาประกาศอีกว่า USDC จะยังคงสามารถแลกเปลี่ยนเป็น 1:1 กับ US Dollar เสมอ

และหลังจากนั้นไม่นานสำนักข่าว Reuters ก็ได้ออกมารายงานว่า Bank of London กำลังเสนอซื้อกิจการของ Silicon Valley Bank สาขาย่อยในอังกฤษ พร้อมทั้งบอกอีกว่ามีหลายสถาบันการเงินอีกหลายรายที่กำลังพิจารณาการที่จะเข้ามาซื้อกิจการของ SVB ต่อ อย่างเช่น OakNorth Bank, Abu Dhabi Investment Vehicle ADQ เนื่องจาก SVB เป็นธนาคารที่สำคัญของบริษัท Startup และ VC ต่าง ๆ แต่มีปัญหาหลักคือเรื่องสภาพคล่องที่ทาง SVB ไปถือพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวที่ค่อนข้างเยอะจนเกินไป เมื่อธนาคารกลางสหรัฐขึ้นดอกเบี้ยซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็จะทำให้ SVB ขาดทุนอย่างมหาศาล

การหยุดกิจการของ SVB ทำให้บริษัท Tech Startup ต่าง ๆ ในประเทศอังกฤษมากกว่า 200 บริษัทไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนพนักงาน เนื่องจากเงินทุนที่ได้จาก VC ส่วนใหญ่ถูกนำไปเก็บไว้ที่ SVB และจากรายงานของ Cointlegraph มีบริษัท VC หลายแห่งที่มีเงินติดอยู่ที่ SVB ตัวอย่างเช่น Andreessen Horowitz (a16z) จำนวน $2.85B ตามมาด้วย Paradigm $1.72B และ Pantera Capital อีก $560M

ผลกระทบตามมาหลังจากที่ SVB หยุดดำเนินกิจการไป ทำให้บริษัทแม่อย่าง SVB Financial Group (SIVB) ได้ยื่นล้มละลายใน Chapter 11 ในรัฐนิวยอร์คเพื่อปรับโครงสร้างองค์กรต่อไป และบทสรุปของมหากาพย์ SVB จบลงด้วยการที่ First Citizens Bancshares Inc. ที่เป็นบริษัทแม่ของ First Citizens ได้ตกลงซื้อ SVB ไปดำเนินการต่อ โดยที่ทั้ง 17 สาขาของ SVB จะใช้ชื่อใหม่เป็น First–Citizens Bank & Trust Company แทน

11 Mar

USDC Depeg Risk

มีความกังวลในเรื่อง USDC ที่เป็น Stable Coin ของทางฝั่ง Circle เกิดการหลุด Peg เนื่องจากสินทรัพย์ค้ำประกันในส่วน ของเงินสดของ Circle ประมาณ $3.3B หรือประมาณ 8% ของสินทรัพย์ทั้งหมด ฝากอยู่ในธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) ที่ประสบปัญหาสภาพคล่องจนไม่สามารถที่จะดำเนินการได้ต่อ ทำให้หลายฝ่ายมองว่าถ้า Circle ไม่สามารถ ได้เงินส่วนนี้คืน ตัว USDC จะไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน อยู่ข้างหลัง 100% จริง ๆ ทำให้นักลงทุนต่างพากันเทขาย USDC แล้วเปลี่ยนไปเป็น Stable Coin ตัวอื่น ๆ  จนทำให้ USDC หลุด Peg ลงมาต่ำสุดที่ประมาณ $0.88 ก่อนที่จะดีดกลับไป Peg ที่ $1 หลังจากทาง Circle ออกมาประกาศว่าจะใช้ทรัพยากรต่างของบริษัทนำเงินที่หายไปกลับมาเติมให้ได้ พร้อมกับทาง FED ได้มีการประชุมและได้ออกมาตรการเรื่องการสนับสนุนสภาพคล่องเพื่อประกันเงินฝากให้กับลูกค้าที่ฝากเงินกับธนาคารในสหรัฐอเมริกา

โดยตัว USDC นั้นจัดเป็น Stable Coin ประเภท “Fiat Back” ที่จะมีเงินสดและสินทรัพย์เทียบเท่าเงินสดในการเป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน โดยส่วนประกอบ ณ ปัจจุบันจะมีเงินสด 23% กระจายฝากตามแบงก์ต่าง ๆ อยู่ 6 แห่ง ซึ่ง SVB ก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่หลังจากเกิดปัญหาดังกล่าวทาง Circle ได้ถอนเงินสดออกจากธนาคารขนาดเล็กแล้วนำมารวมไว้ที่ BNY Mellon และสินทรัพย์อีก 77% จะเป็น US Treasury Bill ที่มีอายุต่ำกว่า 3 เดือน ซึ่งตลาดของ US Treasury Bill เป็นตลาดที่มีสภาพคล่องที่สูง และเป็น Bond ที่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งตัว Treasury Bond นั้นถูกเก็บไว้ที่ธนาคาร BNY Mellon และถูกบริหารด้วยกองทุน Blackrock ซึ่งเราสามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น CUISP Number ของ T-Bill ผ่านทางเวปไซด์ USDXX Ticket

12 Mar

Crypto-Friendly Signature Bank Shut Down by State Regulators

Signature Bank ถูกหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐ New York สั่งให้ยุติดำเนินกิจการ ซึ่งนับเป็นธนาคารรายที่ 3 หลังจาก Silvergate Bank และ Silicon Valley Bank ที่ถูกสั่งให้ปิดกิจการโดยเป็นคำสั่งจาก ธนาคารกลางของสหรัฐร่วมกับ US Federal Insurance Corporation (FDIC) ซึ่งให้ความเห็นว่า การสั่งให้ปิดกิจการครั้งนี้ เป็นการปกป้องผู้ฝากเงิน และเพื่อรักษาเสถียรภาพระบบการเงินของสหรัฐอเมริกา รวมถึงการเงินของโลกด้วย เนื่องจาก Signature Bank มีสินทรัพย์รวมประมาณ $110.36B และมีเงินฝากอีก $88.59B (ณ 31 ธันวาคม 2022) ซึ่งนับว่าเป็นธนาคารขนาดใหญ่และมีความสำคัญของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก

หลังจากนั้นไม่นานทางธนาคารกลางสหรัฐ ก็ได้ออกมาประกาศว่า ได้มีการจัดตั้งโครงการ Bank Term Funding Program (BTFP) ซึ่งเป็นกองทุนมูลค่า $25B เพื่อเข้ามาช่วยเหลือธนาคารต่าง ๆ ที่มีท่าทีขาดสภาพคล่อง โดยเสนอให้ธนาคารสามารถกู้ได้สูงสุด 1 ปี เพื่อแลกกับการที่ธนาคารต่าง ๆ ไม่ต้องขาดพันธบัตรรัฐบาล ที่จะทำให้ขาดทุน แต่สามารถมากู้จากกองทุนนี้ได้

และจากรายงานของ Reutoers ก็ได้บอกว่าผู้ถือหุ้นของ Signature Bank ได้ยื่นฟ้องกับ Joseph DePaolo (CEO), Stephen Wyremski (CFO) และ Eric Howell (COO) ของ Signature Bank ในข้อหาฉ้อโกง ที่มีการปกปิดข้อมูลว่าบริษัทนั้นมีสภาพคล่องเพียงพอ และเคยแจ้งกับผู้ถือหุ้นว่าการล่มสลายของ SVB ไม่ได้มีผลกระทบอะไรกับ Signature Bank

15 Mar

Ethereum success to upgrade and finalize 14 April for Completed Shanghai Upgrade

หลังจากได้มีการเลื่อน Shanghai Upgrade ในเดือนมีนาคม เนื่องจากทางทีมพัฒนาได้ตรวจเจอ Bug ทำให้ต้องทำการทดสอบกันใหม่ ตอนนี้ “Shapella” Upgrade บน Goerli ที่เป็น Ethereum Testnet ได้ Upgrade เสร็จสมบูรณ์แล้ว

ในการทดสอบเรื่องการถอน Ethereum โดยแผนการทำ Hardfork บน Mainnet จะเป็นช่วงวันที่ 14 เมษายน 2566 โดยคำว่า Shapella เกิดจากการผสมคำระหว่าง “Shanghai Upgrade” และ “Capella” ที่เป็น Consensus Layer โดยก่อนหน้านี้ทางทีมนักพัฒนาได้มีการทดสอบการถอน Ethereum บน Public Testnet ของ Sepolia และ Zhejiang ก่อนที่จะมาทำบน Goerli

ซึ่งตามข้อมูลการทดสอบบน beaconcha.in [2], ได้ทดสอบดำเนินการถอนไปทั้งหมด 58,063 ครั้ง บน Goerli Testnet, ด้วยปริมาณ $ETH จำลองจำนวนทั้งสิ้น 124,246.82 $ETH ไม่พบเจอปัญหาในการถอน ถือว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่เข้าใกล้การ Upgrade อย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน

21 Mar

Immutable and Polygon Join Forces To Attract Web3 Game Developers

Project ยักษ์ใหญ่ทั้ง 2 เจ้าที่มีบทบาทสำคัญกับ Ethereum ในเรื่องของการแก้ปัญหา Scaling อย่าง Polygon และ Immutable X ได้จับมือกันร่วมพัฒนา Web 3.0 Gaming เพื่อให้เกิดการ Adoption ได้เร็วยิ่งขึ้น โดยทาง Immutable จะเข้ามาใช้เทคโนโลยีจากทาง Polygon ในส่วนของ Zero Knowledge Technology เพื่อที่จะสร้างเครือข่าย Blockchain ใหม่ขึ้นมาที่เรียกว่า “Immutable zkEVM” ที่เป็นการออกแบบ Rollup ทำให้การดำเนินการธุรกรรมต่าง ๆ บน Blockchain Network ใหม่ตัวนี้มีความไวและง่ายต่อการเชื่อมต่อของ Web 3.0 Gaming

ซึ่งการสร้าง Immutable zkEVM จะทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ที่พัฒนาเกมหรือแม้แต่จะเป็นนักพัฒนาเกมส่วนบุคคลสามารถที่จะมาพัฒนาเกมและ item ที่อยู่ในเกมเพื่อสร้างความเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น (Asset Ownership) โดยทาง Polygon ได้มีประกาศ Testnet ของ zkEVM ไว้เมื่อเดือนตุลาคม 2565 ส่วน Mainnet นั้นจะเปิดให้ใช้งานอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 มีนาคม 2566

โดย DeFi OG ที่อยู่ในโลกของ DeFi อย่าง Uniswap และ AAVE ก็จะเป็นเจ้าแรก ๆ ที่จะ Deploy ตัว Protocol บน zkEVM ของ Polygon ส่วนทางฝั่ง Sandeep Nailwal ที่เป็น Co-Founder ของ Polygon กล่าวว่า Game Studio ที่สร้างและพัฒนาเกมอยู่บน Immutable X สุดท้ายแล้วก็จะมาใช้ Polygon เป็น Validator Node ในการตรวจสอบธุรกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในเกมที่พวกเขาสร้าง ซึ่งสิ่งนี้มันจะทำให้เกิด “แรงซื้อ หรือ ความต้องการ” ตัวเหรียญ $MATIC ใช้ในการนำมา Staking บน Polygon Chain

27 Mar

CFTC Sues Binance, CEO Zhao Over 'Willful Evasion' of U.S. Laws, Unregistered Crypto Derivatives Products

CFTC ฟ้อง Binance US Exchange และผู้ก่อตั้ง Changpeng Zhao (CZ) เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยกล่าวหาว่าบริษัทได้นำเสนอผลิตภัณฑ์อนุพันธ์คริปโต (Crypto Derivative) ที่ไม่ได้จดทะเบียนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งขัดต่อกฎหมายของรัฐบาลกลาง คดีที่ยื่นฟ้องกล่าวหาว่า Binance ดำเนินการซื้อขายอนุพันธ์ในสหรัฐ ที่เป็นสกุลเงินดิจิทัล ได้แก่ Bitcoin ($BTC), Ethereum ($ETH), Litecoin ($LTC), Tether USD ($USDT) และ Binance USD ($BUSD) ซึ่งทาง CFTC มองว่าสินค้าเหล่านี้จัดเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) และการยื่นฟ้องนี้ยังกล่าวหาว่าบริษัทภายใต้การนำของ CZ สั่งให้พนักงานบอกลูกค้าที่เป็นคนสหรัฐอเมริกาไม่ให้แสดงภูมิลำเนาของตนเอง (Location) เพื่อให้สามารถ KYC และสามารถใช้งาน Binance International ได้ โดยนอกเหนือจากนี้ยังมีการแนะนำให้ลูกค้าใช้ VPN ในการเชื่อมต่อการใช้งานกับ Binance International อีกด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายที่กำกับดูแลลูกค้าฝั่งสหรัฐอเมริกา

CFTC กำลังเรียกเก็บเงินจากทาง Binance Exchange เนื่องจากละเมิดกฎหมายเกี่ยวกับการเสนอการทำธุรกรรมสินค้าอนุพันธ์ (Derivative Products) ที่ไม่ได้มีการลงทะเบียนตามกฎหมาย ถือว่าทาง Binance ล้มเหลวในการดูแลลูกค้าและการปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องการลงทะเบียนเป็นผู้ค้าสินค้าอนุพันธ์ การกำกับดูแลธุรกิจไม่ดี ไม่ใช้ความรู้ในการป้องกันการฟอกเงิน เพราะ CFTC มองว่าลูกค้าของ Binance ที่เป็นคนของสหรัฐอเมริกาพยายามใช้วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อหลบเลี่ยงกฎหมาย ถือว่าเป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมในการฟอกเงิน

April

9 Apr

ข่าวการ Hack DeFi Protocols ของ Yearn Finance และ SushiSwap

ในวันที่ 10 และ 13 เมษายนที่ผ่านมาได้มีการ Hack เกิดขึ้นกับ Protocols ในยุค DeFi OG ซึ่งอยู่มาในช่วง DeFi Summer ในปี 2021 อย่าง Yearn Finance และ SushiSwap โดยในส่วนของ Yearn Finance ได้โดน Hacker ทำการ hack ในส่วนของ yUSDT Token Contract ทำการควบคุมราคา (Manipulation) ทำการสร้าง yUSDT Token ออกมาประมาณ 1.2 quadrillion ด้วยการใช้เงินเพียง $10k โดยทาง Yearn Finance สูญเงินไปทั้งสิ้น $10M

ในส่วนของ SushiSwap เป็นทางฝั่งของผู้ใช้งานตัว Protocol ที่ถูกขโมยเงินและสูญเสียไปมากถึง $3M โดย Hacker ทำการสร้าง Uniswap Pool Contract ของปลอมขึ้นมาแล้วทำการแทรกลงไปใน Smart Contract ใหม่ของ SushiSwap ทำให้ User ที่มีการ Approve Contract ดังกล่าวจะโดน Hacker ขโมยเงินออกไป

18 Apr

Lido deposits surpass $12 billion as Ethereum Shapella upgrade boosts liquid staking

หลังจากการอัปเกรดใหญ่ของ Ethereum Shapella ที่ทำให้ผู้ที่เคย Staking $ETH สามารถที่จะถอนได้นั้น ทำให้กลุ่ม Liquid Staking Protocol (LSD) อย่าง Lido Finance ได้รับอนิสงค์จากเหตุการณ์นี้ จนทำให้ TVL ของ Lido Finance พุ่งสูงแตะ $12B เนื่องจากนักลงทุนมองเห็นถึงความคล่องตัวในการฝากเงิน รวมถึงหากเลือกที่จะ Staking ใน LSD ผู้ใช้งานสามารถนำเหรียญที่เป็นตัวแทนนั้นไปใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อกู้ หรือหาประโยชน์ต่อใน DeFi ได้

18 Apr

Tracking Zero-Knowledge Rollups on Ethereum

นอกจาก Optimistic Rollup ที่ค่อนข้างเป็นกระแสอย่าง Arbitrum ที่จะมาช่วย Ethereum ในเรื่องของ Scaling Solution ยังมี Scaling Solution อีกตัวหนึ่งที่มีการพูดถึงในหมู่ Developer ว่าจะเป็น End Game ของการทำ Scaling Solution ให้กับ Ethereum อย่าง “Zero Knowledge Rollup” หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ZK-Rollup โดยทาง Polygon ได้มีการเปิดตัว zkEVM ที่เป็น Ethereum Virtual Machine  โดยการเปิดตัวดังกล่าวมาหลังจากทาง zkSync ทำการเปิด Mainnet ในส่วนของ zkSync Era เพียง 3 วันเท่านั้น  นอกเหนือจาก Polygon zkEVM กับ zkSync Era แล้วยังมี Scaling Solution ในกลุ่มของ Zk-Rollup ตัวอื่น ๆ  อีก อย่าง Scroll และ Starknet

โดยจากข้อมูล On-Chain Data ตัว zkSync มีการใช้งานเยอะที่สุดในบรรดา ZK-Rollup โดยมีเงินโอนเข้ามาใช้งาน ZK-Rollup มากถึง $244M และมีการ Deploy DeFi Contract มูลค่าประมาณ $117M เมื่อเปรียบเทียบกับทาง Starknet และ Polygon zkEVM มีการโอนเงินผ่าน Bridge มาใช้งานเพียงแค่ $37M และ $5M ตามลำดับ

19 Apr

Russia Moving Forward With Crypto International Settlement Experiment

มีรายงานว่าธนาคารกลางของรัสเซียกำลังดำเนินการเกี่ยวกับวิธีการใช้งานคริปโต สำหรับการชำระหนี้ระหว่างประเทศ ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้ประเทศรัสเซียจะมีทีท่าที่เข้มงวดกับสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าวก็ตาม

Elvira Nabiullina หัวหน้าธนาคารกลางของรัสเซียกล่าวว่า จะสร้างองค์กรพิเศษที่สามารถขุดเหรียญคริปโต (Crypto Mining) และใช้เพื่อชำระเงินกับหน่วยงานต่างประเทศโดยข่าวนี้ได้ถูกรายงานโดยสำนักงานข่าวรัสเซีย TASS

โดยองค์กรที่เกี่ยวข้องกับรัฐจะสามารถใช้คริปโตสำหรับการชำระหนี้ดังกล่าวได้ รองประธานธนาคารกลาง Alexei Guznov กล่าวกับสำนักข่าวรัสเซียและบริษัทเอกชนอาจได้รับอนุญาตให้สามารถใช้คริปโตในการชำระหนี้ได้ในอนาคต

25 Apr

Binance Bails on $1B Voyager Asset Deal

Binance US ได้ยุติการเข้าซื้อกิจการของ Vayager มูลค่า $1B ซึ่งเป็นข้อตกลงที่พร้อมดำเนินการอย่างเป็นทางการ โดยทาง Binance ได้ยืนยันข่าวดังกล่าว โดยกล่าวโทษในเรื่องกฏระเบียบที่ไม่มีความชัดเจนของทางฝั่งสหรัฐอเมริกาทำให้ต้องยกเลิกข้อตกลงในครั้งนี้ของ Binance และ Voyager

การเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2022 เมื่อทั้งสองบริษัทตกลงที่จะเดินหน้าต่อไปด้วยการประมูลมูลค่า $1B โดยกระทรวงยุติธรรมพยายามขัดขวางการซื้อกิจการของ Binance ในเดือนมีนาคม 2023

ในส่วนของ Voyager ได้ยื่นฟ้องล้มละลายในเดือนกรกฎาคม 2022 หลังจากการล่มสลายของ Terra Luna จากนั้น Voyager ได้ระงับกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการฝาก การถอนเงิน และการซื้อขายของลูกค้าบนแพลตฟอร์มของตนในต้นเดือนกรกฎาคม และยื่นข้อความคุ้มครองการล้มละลายในมาตราที่ 11

May

4 May

Curve Finance deploys crvUSD stablecoin on Ethereum mainnet

Curve Finance เปิดตัวเหรียญ Stablecoin ของตัวเองที่ชื่อว่า crvUSD ซึ่งเป็น Collateral-Backed คล้าย ๆ กับ DIA ของ MakerDAO โดย crvUSD จะมี Max Total Supply อยู่ที่ 20M Token และเหรียญจะถูก Mint ผ่านการ Lending กับ Platform ทำให้ปัจจุบันถือว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของ Sector Stablecoin ที่มีคู่แข่งเพิ่มขึ้นอีกราย รวมถึงในอนาคตที่จะมีเหรียญ Stablecoin “GHO” ของทาง AAVE ที่จะปล่อยให้มาใช้งานกัน

16 May

Crypto community reacts to Ledger wallet’s secret recovery phrase service

หลังจากที่ Ledger ได้ออกมาประกาศว่า จะมีการปล่อยบริการใหม่ที่ชื่อว่า Ledger Recover คือการที่ผู้ใช้งานสามารถ Recovery Seed Phrase ของตัวเองได้ โดยหลักการทำงานของฟีเจอร์ Ledger Recover คือการที่ Ledger จะทำการแบ่ง Seed Phrase ของผู้ใช้งานออกเป็น 3 ส่วน โดยเก็บไว้ที่ Ledger 1 ส่วน และอีกบริษัท CoinCover และ EscrowTech อย่างละส่วน หากเมื่อไหร่ที่ผู้ใช้งานลืม Private Key ของตัวเองฟีเจอร์ Ledger Recover จะทำการดึงข้อมูลจากสามแหล่งนั้นมารวมกันและทำการถอดรหัส เพื่อสร้าง Seed Phrase กลับมาใหม่ได้

ถึงแม้ฟีเจอร์ Ledger Recover จะเป็นเพียง Option ที่ผู้ใช้งานสามารถเลือกสมัครได้ แต่ก็เกิดข้อถกเถียงมากมายถึงความเหมาะสมใน Community ว่ามันจำเป็นจริง ๆ ใช่หรือไม่ที่จะมีฟังก์ชันนี้เกิดขึ้น หลังจากที่มีข้อถกเถียงมากมายเกิดขึ้น ทาง Éric Larchevêque อดีต CEO ของ Ledger ก็ได้ออกมาโพสต์ผ่าน Reddit ว่า Ledger ยังคงปลอดภัย ไม่มี Backdoor และไม่ได้บังคับให้ใครใช้ฟีเจอร์ Recover นี้ และ Pascal Gauthier CEO ปัจจุบันของ Ledger ก็ได้ออกมาประกาศว่าเป็นความผิดพลาดในการประชาสัมพันธ์ของ Ledger ที่ทำให้เข้าใจถึงฟังก์ชัน Ledger Recover ผิด พร้อมทั้งบอกอีกว่า Ledger Recover จะเข้ามาช่วยทำให้ Self-Custody ได้รับการยอมรับมากขึ้นด้วยบริการ Recover นี้

และด้วยกระแสต่อต้านการกู้ Seed Phrase ที่เกิดขึ้นกับบริการ Ledger Recover ทำให้บริษัทคู่แข่งอย่าง Trezor ได้ออกมาประกาศว่าผลิตภัณฑ์ของ Trezor มีปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้น 900% ภายในหนึ่งสัปดาห์หลังจากกระแสดราม่า Ledger Recover

24 May

Multichain Token Crashes Over 20% Amid Reports of Users’ Funds Being Stuck

ราคาเหรียญ MULTI ของ MultiChain Bridge ร่วงกว่า 24% ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง จาก $7.09 เหลือเพียง $5.39 หลังจากที่ MultiChain มีการอัปเดต Back-End จนทำให้ผู้ใช้งานหลายรายมีเงินติดอยู่ในระบบนานกว่า 72 ชั่วโมง และระหว่างที่มีการ Delay ของธุรกรรมนั้น ก็ได้มีข่าวลือว่าทีมพัฒนา MultiChain ถูกจับกุมที่จีน และเงินจำนวน $1.3B อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานจีน

และจากรายงานของ Lookonchain บอกว่าด้วยเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทำให้นักลงทุนแห่เทขายเหรียญ MULTI อย่างเช่น มีหนึ่ง Address ที่ฝาก 494,200 $MULTI มูลค่า $2.75M ไปยัง Gate.io [3] ในวันที่ 24 พฤษภาคม และในวันเดียวกันนั้น Hashkey ก็ได้โอนเหรียญ $MULTI มูลค่า $247,000 เข้าไปยัง Gate.io เช่นเดียวกัน พร้อมทั้งเจอว่า Fantom Foundation ก็ได้ทำการถอนสภาพคล่อง 450,000 $MULTI มูลค่า $2.4M ออกจาก SushiSwap

24 May

TUSD under attack following Prime Trust insolvency

US Prime Trust เป็นที่รู้จักในนามของบริษัทที่เป็น Custody ที่ใช้ทำการแลกเปลี่ยนเงิน Fiat เปลี่ยนไปเป็น True USD (TUSD) ก่อนหน้านี้ก็ได้ประสบปัญหาในเรื่องสภาพคล่องในการดำเนินงาน และเมื่อไม่นานมานี้ได้รับคำสั่งจากหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินของรัฐเนวาดาให้ดำเนินการธุรกิจแบบไม่เต็มรูปแบบภายใต้คำสั่ง “cease-and-desist order”

โดยตัวแทนของทางบริษัท TUSD ได้ออกมาประกาศว่าไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ US Prime Trust มีปัญหาสภาพคล่องเนื่องจากทางบริษัทไม่ได้มีทรัพย์สินที่ฝากไว้กับ US Prime Trust ซึ่งทาง TUSD เองยังคงกระจายความเสี่ยงในการมีช่องทางในการฝาก USD เข้ามาเพื่อที่จะ Mint/Redemption ตัว USD

จากเหตุการณ์ดังกล่าวที่ TUSD มีการหลุด Peg มีเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกของ DeFi ไม่ว่าจะเป็น

  • คนที่กู้ยืม TUSD ไปบน Lending/Borrowing Protocol อย่าง AAVE ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงถึง 50% APY เนื่องจากมีคนกู้ TUSD ปริมาณมากเพื่อทำ Short Sell
  • ปริมาณ TUSD ใน Curve Pool เริ่ม “ไม่สมดุล (Imbalance)” มากถึง 61% เนื่องจากมีคนจำนวนมากหนีตายโดยทำการเปลี่ยน TUSD เป็น Stable Coin ตัวอื่น ประกอบกับคนที่ทำการ Short Sell ที่ขายลงมาใน Pool
  • ผู้ใช้งานที่ถือ TUSD พยายามที่จะ Redeem เงินกลับมาอยู่ในรูป Fiat แต่ระบบมีปัญหาแทนที่จะได้ Fiat กลับมา กลับได้ TUSD เพิ่มขึ้นเท่ากับปริมาณที่ Redeem


June

5 Jun

SEC sues Binance in US district court for unregistered securities operations

SEC หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา ได้ยื่นฟ้องต่อ Binance US และ Changpeng Zhao (CZ) CEO ของ Binance ใน 13 ข้อหา โดยบอกบอกว่าผลิตภัณฑ์ที่ให้บริการของ Binance US ไม่ได้ลงทะเบียนอย่างถูกต้อง อย่างเช่น BNB, BUSD, Simple Earn, BNB Vault รวมถึง Staking Program

ในการยื่นฟ้องครั้งนี้ SEC ยังอ้างเพิ่มเติมอีกว่า Token ต่าง ๆ ที่มีการซื้อขายใน Binance หลายตัวเข้าข่ายคำว่าหลักทรัพย์ อย่างเช่น BNB (BNB), Binance USD stablecoin (BUSD), Solana (SOL), Cardano (ADA) , Polygon (MATIC), Filecoin (FIL), Cosmos Hub (ATOM), The Sandbox (SAND), Decentraland (MANA), Algorand (ALGO), Axie Infinity (AXS) และ Coti (COTI) เลยทำให้จำเป็นอย่างยิ่งที่ SEC จะเข้ามากำกับดูแลเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของนักลงทุน เพราะ SEC มองว่า Binance เปิดให้มีการซื้อขายสินทรัพย์ที่เข้าข่ายคำว่า “หลักทรัพย์”

หลังจากนั้นไม่ได้ Mark Palmer นักวิเคราะห์ของ Berenberg ก็ได้ออกมาโพสต์ในบล็อคส่วนตัวว่า การฟ้องของ SEC ที่มีต่อ Binance และ CZ ครั้งนี้จะมีโอกาสเกิดขึ้นกับ Coinbase ได้ในอนาคต และจากก่อนหน้านี้ SEC ก็ได้ยื่นฟ้องกับ Bittrex และ Kraken โดยอ้างเหตุผลคล้าย ๆ กัน ทำให้น่าจับตาว่า Coinbase ซึ่งมี Token ในกระดานเทรดคล้าย ๆ กับ Binance รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ คล้ายกับ Binance จะถูกดำเนินการฟ้องร้องอย่างไรในอนาคต ซึ่งตอบรับกับข่าวก่อนหน้าในเดือนมีนาคม ที่ SEC ได้ออกมาเตือนถึง Coinbase ว่าจะมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น

15 Jun

BlackRock Close to Filing for Bitcoin ETF Application

Blackrock บริษัท Asset Management ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ยื่นขอเปิด Bitcoin Spot ETF กับทาง SEC อีกครั้ง แต่ครั้งนี้เหมือนจะไม่เหมือนเดิมตรงที่การยื่นของ Blackrock อยู่ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันกับเหตุการณ์ที่ SEC ฟ้อง Binance, CZ และ Coinbase โดยในการฟ้องนั้น ไม่ได้มีการพูดถึง Bitcoin ว่าเป็นหลักทรัพย์เพียงสักครั้ง Blackrock อาจจะเห็นว่าเป็นสัญญาณที่ดี เลยได้ทำการยื่นเพื่อขอเปิด Bitcoin Spot ETF และหลังจากนั้นก็ได้มีหลายบริษัทที่เคยยื่นไปแล้ว และถูกปฏิเสธก็ได้กลับมายื่นใหม่ได้แก่

  • Bitwise Asset Management ได้ยื่นขอเปิด Bitcoin Spot ETF
  • WisdomTree Investment ได้ยื่นขอเปิด Spot Bitcoin exchange-traded fund (ETF)
  • Invesco ได้ยื่นขอเปิด Invesco Galaxy Bitcoin ETF
  • Valkyrie Investments ได้ยื่นขอเปิด Valkyrie Bitcoin Futures Leveraged Strategy ETF (BTFD)
  • Fidelity Investments ได้ยื่นขอเปิด Spot Wise Origin BTC Trust
  • Chicago Mercantile Exchange (CME) เตรียมเปิดตัว Ether/Bitcoin Ration Futures
  • ARK Invest
  • Grayscale
  • Galaxy Digital
  • VanEck
  • NYDIG
  • SkyBridge

จากรายงานของ Bloomberge มองว่าหลังจาก Blackrock ได้ออกมาขอยื่นเปิด Bitcoin Spot ETF ทำให้หลายบริษัทที่เกี่ยวข้องกับคริปโต พากันยื่นขอตามกันรัว ๆ และนับเป็นอีกก้าวสำคัญของโลกคริปโต หาก SEC ไฟเขียวให้กับ Bitcoin Spot ETF เหล่านี้ จะทำให้เงินไหลจาก Traditional เข้ามายัง Alternative Investment อย่างคริปโตมากพอสมควร และหาก SEC ไฟเขียวให้จริง ก็จะถือว่าเป็นแรงผลักดันราคาของ Bitcoin รวมถึงภาพรวมตลาดทั้งหมดได้อีกด้วย และ Eric Balchunas นักวิเคราะห์ของ Bloomberge ก็ได้ออกมาบอกว่า โอกาสที่ SEC จะไฟเขียวให้กับ Bitcoin Spot ETF ของ Blackrock ค่อนข้างสูง โดยดูจากอดีตที่ผ่านมาว่า ในการยื่นขอ ETF ของ Blackrock ที่ผ่านมาได้รับการอนุมัติทุกครั้ง และมีเพียงครั้งเดียวที่ไม่ผ่าน

22 Jun

Staked ETH hits 20M milestone, almost doubling in 1 year

Ethereum ได้บรรลุเป้าหมายไปอีกขั้น กับการที่มีผู้ใช้งานนำ Ethereum มา Staking บน Beacon Chain มากกว่า 23.5M $ETH การนำ Ethereum มา Staking คล้ายกับการที่เรานำเงินสดไปฝากไว้กับธนาคารแล้วได้ดอกเบี้ย ซึ่งผลตอบแทนของการ Staking ในปัจจุบันจากข้อมูลของทาง Token Unlock ให้ผลตอบแทนต่อปีอยู่ที่ 5.65%

โดยในช่วงเดือนพฤศจิกายน ปี 2021 ราคาของ Ethereum ได้ทำจุดสูงสุดที่ $4,400 โดย ณ เวลานั้นมีการ Staking เพียง 8.2M $ETH หรือคิดเป็นมูลค่า $15B ซึ่ง ณ ปัจจุบัน Ethereum มีปริมาณหมุนเวียนในตลาดอยู่ที่ 120.2M $ETH และมีอัตราการ Staking เทียบกับปริมาณหมุนเวียนทั้งหมดอยู่ที่ 19.4% ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นก่อน Shanghai Upgrade ที่มีอัตราการ Staking อยู่ที่ประมาณ 15%

28 Jun

MicroStrategy bought more BTC

Microstrategy ได้ออกมาเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณชนว่ามีการเข้าซื้อ BTC เพิ่มเติม 12,333 BTC มูลค่าประมาณ $347M ที่ราคาเฉลี่ย $28,136 โดย ณ ปัจจุบันทาง MicroStrategy ถือ BTC อยู่ 152,333 BTC มูลค่ารวมทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ $4.52B โดยมีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ $29,668


Read more

Dethrone: From Quantitative Easing to Digital Currencies - What's Next for the Dollar's Status Quo? (TH)

Dethrone: From Quantitative Easing to Digital Currencies - What's Next for the Dollar's Status Quo? (TH)

In the long run we are all dead. - John Maynard Keynes QE กับทฤษฏีเงินเฟ้อ (ตอนที่ 1): Oversupply Always Leads to Devaluation June 2015 นี่คือกฎเศรษฐศาสตร์พื้นฐานที่เราคุ้นเคยกันดี เมื่อน้ำมันล้นตลาด ราคาน้ำมันก็ตกต่ำ เมื่อแรงงานในประเทศมีมากเกินไป ค่

By Avareum Research
Crypto Narrative 2024: Web 3.0 and Blockchain Adoption

Crypto Narrative 2024: Web 3.0 and Blockchain Adoption

Introduction to Web 3.0 and Blockchain Technology ประเด็นสำคัญ Web 3.0 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “Semantic Web” หรือ “Decentralized Web” นับเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในโลกดิจิทัล โดยนำเสนอประสบการณ์ส่วนบุคคล ผ่านระบบสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract)

By Avareum Research