Avareum Market Outlook 2024: Perpetual Protocol

Avareum Market Outlook 2024: Perpetual Protocol

Derivative and Derivative in DeFi

Derivative เป็นกลไกการทำธุรกรรมบนราคา ที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องถือครอง Asset ตัวอย่าง Asset ได้แก่ Bond, Stock, Commodity, Interest rate, Currency และ Crypto รูปแบบที่นิยมนำมา Trade กันได้แก่ Forward, Future และ Option เป็นต้น

มูลค่าการซื้อขาย นั้นถือว่าสูงมากเมื่อเปรียบเทียบในแต่ละตลาด

Derivative นั้นสามารถใช้ได้ทั้งในแง่ของเก็งกำไรเพื่อเพิ่มผลตอบแทนหรือในมุมของการประกันความเสี่ยงของการลงทุน (Hedging) เพื่อป้องกันพอร์ตการลงทุนในช่วงตลาดขาลง แต่กระนั้น ปัญหาใหญ่สิ่งหนึ่งของ Derivative คือ จะมีระยะเวลาในการถือครองที่จำกัดหรือ มีอายุกาารถือครองนั่นเอง ซึ่งเมื่อ Contract ใกล้หมดอายุ (Expiratory Date) จะมีผลต่อราคาเป็นอย่างมาก

Crypto Centralized Exchanged

รูปภาพที่ 1: ภาพรวม Trading Volume และ Open Interest (OI) ของ Centralized Exchange (CEX) 20 อันดับแรก ในสินค้าประเภท Derivative

จากภาพข้างต้นจะเห็นว่า CEX อันดับต้น ๆ จะมี Trading Volume ภายใน 24 ชั่วโมงอยู่ที่ประมาณ $10B ขึ้นไป ในขณะที่ On-Chain Perpetual Protocol หรือ Decentralized Perpetual Protocol เมื่อเทียบกับเจ้าใหญ่ ๆ จะอยู่ที่ระดับไม่เกิน $1B ซึ่งมองว่าในฝั่งของ On-Chain ยังคงมีพื้นที่ให้เติบโตอีกเยอะ

Derivative in DeFi

หากมองในมุมที่ว่า ตลาดคริปโตยังเล็กมาก ในโลกการลงทุนแล้วก็น่าสนใจว่า การลงทุนในสาขานี้จะเติบโตได้อีกขนาดไหน นอกจากนี้สามารถคิดต่อไปได้อีกว่า ในเมื่อระบบของ DeFi นั้นเปิดกว้างมากกว่าในส่วนของ Innovation สิ่งนี้ยิ่งเพิ่มความสนใจเพิ่มขึ้นอีกว่าจะเป็นไปได้มากเกินจินตนาการเลยหรือไม่

ตัวอย่างของ Protocol Derivative ได้แก่ Synthetix ที่จะ Create Token ที่ Track ราคาของ Asset เช่น BTC, Stable coins และ Commodities แล้วสามารถนำไป Trade บน Derivative Trading Platform ต่าง ๆ  เช่น Paraswab, Hegic

Note: Hegic นั้น เริ่มต้นมีผู้พัฒนาแค่เพียงคนเดียว สิ่งนี้ช่วยเน้นย้ำว่า Innovation ใน DeFi เกิดขึ้นได้ง่ายกว่า Traditional Finance

รูปภาพที่ 1: Syntetix

Perpetual Trading in DeFi

Perpetual Trade นั้นได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดย Perpetual หรือ Perpetual Contract นั้น เหมือน Futures Derivative ที่ไม่มี Expiratory Dates จึงลดความยุ่งยากที่มี ต่อ Traders ลง ในเรื่องของ Price Converge อีกทั้งเพิ่ม Exposure ในการ Trade เนื่องจาก ไม่จำเป็นต้องมี Assets อยู่ในครอบครองจริง ๆ

โดยในช่วงระยะหนึ่ง ๆ (Periodically) ฝั่ง Long หรือ Short จะต้องจ่าย Incentive มาให้อีกฝั่งหนึ่ง เพื่อต่อเวลาการถือสัญญาเรียกว่า Funding Rate (FR)

อธิบายให้เห็นภาพคือ ถ้า Perpetual Contract ถูก Trade ในราคาที่สูงกว่าราคา Asset แปลว่า FR จะเป็น Positive ฝั่ง Long จะต้องจ่าย Incentive ให้ฝั่ง Short

รูปภาพที่ 3: Funding Rate ของ BTC ในทุก Exchange

ข้อมูลจาก The Block เผยว่าในปี 2023 นี้ ณ วันที่ 14 มีนาคม 2023 มีปริมาณการเทรดต่อวันสูงที่สุดถึง $3.47B และมูลค่าการเทรดเฉลี่ยก็อยู่ประมาณ $1B

ข้อมูลจาก CoinMarketCap แสดงให้เห็นว่า ณ ปัจจุบัน วันที่ 21 มิถถุนายน 2024 มีปริมาณ Trading Volume อยู่ที่ $70.24b ต่อวัน ซึ่งหากเราเปรียบเทียบกับปริมาณการเทรดสินทรัพย์อื่น ๆ อย่าง Bond, Stock, Derivative ในส่วนของ Cryptocurrencies ยังถือว่าน้อยมาก ๆ ทำให้มี Upside ในการเติบโตอีกค่อนข้างสูง เพราะเมื่อเราดูตามรูปภาพด้านล่าง ในปี 2013 ปริมาณการซื้อขายคริปโตอยู่ที่ $257.49M และปริมาณการซื้อขายค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2017 อยู่ที่ $1.79T (เพิ่มขึ้น 4,067.98%) ที่เป็น Cycle ที่สองของคริปโต

หลังจากนั้นในปี 2022 ปริมาณการซื้อขายกลับมาทำจุด ATH สูงที่สุดที่ $82.13T ซึ่งเป็นช่วงการระบาดของโควิด-19 พอดี ทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้ามาที่คริปโตเป็นจำนวนมาก ก่อนที่ปริมาณการซื้อขายมีลดลงในปี 2023 ($76.70T) และ 2024 ($63.40T) โดยลดลง 6.61% และ 17.34% ตามลำดับ

รูปภาพที่ 4: ปริมาณการเทรดของ Perpetual Protocols: dYdX, Synthetix, GMX และ Perpetual

Note: ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่มหาศาล หลายครั้งจึงมีการนำ ข้อมูลในส่วนสัญญา Short-Long จาก Derivative/Perpetual เหล่านี้ไปประกอบการทำนายราคาด้วยนั่นเอง

Derivative Protocol between 2021 and 2022

ในช่วงปี 2021 - 2022 มี Derivative Protocol ที่เกิดขึ้นในตลาดมากมายไม่ว่าจะเป็นตัวแรกที่เริ่มทำ Concept ของ Order Book อย่าง dYdX ตามมาด้วย Perpetual Protocol และในปี 2022 ช่วง Bear Market ตัว Concept “Real Yield” เริ่มมีคนให้ความสนใจมากขึ้น ในการที่ผู้ใช้งานถือเหรียญ Governance Token ของตัว Protocol แล้วได้รับส่วนแบ่งรายได้มาเป็น Ethereum หรือ Stablecoin ทำให้ Derivative Protocol อย่าง GMX และ Gains Network ได้รับความนิยมในช่วงปี 2022 จนถึงกลางปี 2023 หลังจากนั้นได้มีหลาย ๆ Protocol ได้นับกลไกการทำงานของ GMX และ Gains Network ไปปรับปรุงเพื่อสร้าง Derivative Protocol ที่ดีขึ้น ในด้านของ Liquidity Pool, Funding Rate, การป้องกัน Off-Chain Risk และรวมถึงประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้เหมือนกับใช้ Centralized Exchange (CEX) มากขึ้น

จากข้อมูล Dune Analytic ของ Shogun ได้รวบรวม Derivative Protocol หลาย ๆ เพื่อมาทำการวิเคราะห์ในส่วนของ ส่วนแบ่งการตลาดของ Trading Volume

รูปภาพที่ 5: ส่วนแบ่งการตลาดของ Trading Volume ในแต่ละ Perpetual Protocol

หนึ่งในโปรเจคที่เกิดขึ้นใหม่ในช่วงเดือนกันยายน 2023 และค่อนข้างเข้ามากินส่วนแบ่งของ Trading Volume ไปมากถึง 31% นั้นคือ HMX Protocol ที่เราจะเข้าไปทำความรู้จักว่าโปรเจคนี้มีกลไกการทำงานที่แตกต่างจาก Derivative Protocol เจ้าอื่น ๆ  ยังไงและมีความน่าสนใจมากน้อยแค่ไหนในมุมของการลงทุน

HMX

Introduction

HMX ( Perp88 ) เป็น Decentralized Perpetual Trading Platform ที่เดิมเคยอยู่บน Polygon Chain ในชื่อ Perp88 ก่อนจะ Rebranding มาเป็น HMX และ ปรับปรุงมาเป็น Version 2 และย้ายมาอยู่บน Arbitrum Chain ในช่วงมิถุนายน 2023 โดย Platform จะรองรับทั้งการเทรดในส่วนของ Crypto, Forex บางสกุลเงินและ Commodity อย่างทองคำ ผ่านระบบ Cross Margin Collateral และการ Stake ตัว HLP Token

Detailed Functioning of The Protocol

1. Simple and Leveraged Trading

HMX รองรับ Leverage Trading โดยให้ Maximum 50x: Commodity, 100x: Crypto และ 1000x: Forex โดยใช้การวาง Collateral ใน Pool ที่รองรับ Multi-Asset ผ่านระบบ Cross-Margin และเพื่อลดโอกาส Draw-down จนเกิด Liquidate ทาง Platform จะอนุมัติให้สร้าง Sub-account เป็นเหมือน Wallet ย่อยได้

Collateral Asset ที่รองรับบน HMX Protocol

รูปภาพที่ 6: Collateral Asset on HMX Protocol

นอกจากนี้ Platform มี Function Take profit และ Stop loss ไว้ให้ด้วย แต่ด้วยความที่เป็น DEX ดังนั้นในช่วงเวลาที่ Network มีความหนาแน่นการใช้งานสูง ผู้ใช้ควรระลึกถึงความเสี่ยงที่ คำสั่งอาจจะ Delay เอาไว้ด้วย

ประเด็นถัดมา คือ Adaptive Pricing Mechanism ที่จะมีการปรับค่า Premium หรือ Discount กรณีที่ Position ของ Long หรือ Short มากเกินไป รวมถึงการคำนวณ Funding Rate หรือ Funding Rate Velocity ซึ่งเป็น Mechanism ที่ใช้กันในหลาย Platforms ในปัจจุบัน เช่น Synthetix, Kwenta


2. Leveraged Market Making (HLP Vault)

LP Provider สามารถแลก HLP โดยใช้ GLP หรือ USDC จากนั้นระบบ จะไปปรับ Weight เป็น GLP:USDC = 90:10 และ Minting เป็น HMX:GMX ขึ้นไปวาง LP on top บน GMX ต่อไปโดย Depositors จะ Earn 100% -ของ Yields จาก GMX โดยตรง

รูปภาพที่ 7: แผนผังกลไกการทำงานภายใน HMX Protocol ในส่วนต่าง ๆ

โดยรายละเอียดเพิ่มเติม สำหรับ LP Providers คือ

  • ETH Rewards จะถูกกระจายผลตอบแทนมาจาก GMX
  • 65% of HMX's Protocol Revenue จะถูกแบ่งออกมาจ่ายด้วย $USDC
  • กำไร หรือ ผลการขาดทุนที่เกิดขึ้น จาก Counter Trading โดย GMX และ HMX
  • esHMX Rewards ขึ้นกับขนาดของ GLP Deposits & Emission Rates

ในส่วนนี้จะพบว่า หากอ่านโดยหลักการ จะเห็นว่า Promotion นี้ถือว่าให้ส่วนแบ่งที่สูงมาก จนน่ากังวลว่า เมื่อถึงเวลา หาก Promotion ไม่ได้ผลเท่าที่คาดหวัง หรือ การปรับลดผลตอบแทนในอนาคต จะกระทบอย่างไรบ้าง

3. Staking

เป็นกลไกลดแรงขายของ Token หลัก ปัจจุบันมี Yield ตามภาพด้านล่าง

รูปภาพที่ 8: ระบบการ Stake ของ HMX: Liquidity Provider, Governance, และ Dragon Point

Governance token and its use

  • $HMX เป็น Governance Token
  • HMX Token Contract Address
  • Arbitrum: 0x83d6c8C06ac276465e4C92E7aC8C23740F435140
  • Ethereum: 0x83d6c8c06ac276465e4c92e7ac8c23740f435140
  • มี Max Supply ของ Token อยู่ที่ 10,000,000 $HMX
  • ตัว $HMX Token ถูกใช้เป็นส่วนลดค่า Fee
  • ในปัจจุบันมีเพื่อใช้งาน ยังไม่มีการ Design เรื่อง Governance

Tokenomics

ในหัวข้อนี้เราจะแบ่งออกเป็น สามหัวข้อย่อย คือ

  • HMX’s Token Supply & Allocation
  • Tokenomics Design Principle
  • HMX’s Platform-issued Tokens & Utilities

$HMX Token Distribution

รูปภาพที่ 9: HMX Token Distribution

$HMX เป็น Governance Token ของ HMX Protocol, โดยมีปริมาณ Max Supply ทั้งหมด 10,000,000 $HMX

โดยแบ่งสัดส่วนดังนี้

  • Community Incentives (40% - 4,000,000 $HMX):
    แจกจ่ายเป็นหลักในรูปแบบ $esHMX (ผู้เข้าร่วมจะต้องเข้าเกณฑ์ Vesting ทุกคนเพื่อชะลอการขาย) 30% ของ Pool นี้ (หรือ 12% ของ Total Supply) จะออกในปีแรก โดยมีจำนวนลดลงทุกปี
  • Ecosystem Fund (25.6% - 2,560,000 $HMX):
    5.6% ปลดล็อคทันที ที่เหลือจะปล่อยเป็นเส้นตรงตลอดระยะเวลา 4 ปี กองทุนนี้ช่วยเพิ่มการเติบโตของ HMX ในการทำ Marketing Campaign และใช้ในการพัฒนาตัวโปรเจค
  • HLP SURGE (5% - 500,000 $HMX):
    มุ่งเป้าไปที่กิจกรรม HLP SURGE เพื่อรองรับสภาพคล่องในการซื้อขาย โดยมีการปล่อย Token ทุกเดือนตลอดทั้งปี
  • Token Generation Event (8% - 800,000 $HMX):
    Token ปริมาณ 8% จะถูกปล่อยทันที ณ วันที่เหรียญมีการวางสภาพคล่องราคาใน Pool โดยจุดประสงค์ของ TGE คือใช้ในการควบคุมราคาของ Token
  • Team (15% - 1,500,000 $HMX):
    ในส่วนของทีมจะมีการล็อคเหรียญเป็นระยะเวลา (Clift) เป็นระยะเวลา 6 เดือน ก่อนที่จะทยอยปลดทุกเดือนเป็นระยะเวลา 42 เดือน
  • Private Sale (6.4% - 640,000 $HMX):
    สำหรับนักลงทุนที่ลงในรอบ Private Sale จะมีการล็อคเหรียญ (Clift) เป็นระยะเวลา 6 เดือนหลังจากนั้นจะทำการปลดเหรียญออกมาเป็นระยะเวลา 18 เดือน
รูปภาพที่ 10: HMX Vesting Schedule

Token ถูกผลิตออกมาเยอะในช่วงแรก คือราว  20% แต่กระนั้น กระบวนการผลิตเพิ่มต่อเนื่องอีก 4 ปี และอัตราแจกค่อนข้างคงที่นี้ถือเป็นงานหนักสำหรับทีม ที่จะต้องพิสูจน์ผลงาน ที่มากกว่าแรงเทขายที่อาจจะมากขึ้นเรื่อย ๆ

HMX Tokenomics Design Principles Summarized

Objective 1: Yield Generation

ตัว Platform เสนอไอเดียเพื่อกระตุ้นการ Trade, LP Deposit และ Staking ผ่านการนำเสนอเรื่องเพิ่มผลตอบแทน ผ่าน Scoring System: TLC, DP ซึ่งนำไป Stake เพื่อหา Yield เพิ่ม เช่น

  • Trader’s Loyalty Credit ($TLC) ให้รางวัลผู้ใช้สำหรับทุก ๆ $1 ที่ซื้อขาย จากนั้นจะได้ 1 TLC กลับมา ซึ่งนำไป Stake ต่อได้
  • ในส่วนนี้ ผู้เขียนมองว่า เป็นการพยายามใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจและตรึง Users ให้ถือครอง Token ไว้นาน ๆ โดยวิธีที่พบได้ทั่ว ๆ ไป
รูปภาพที่ 11: ระบบแต้มของทาง HMX Protocol และการแจกผลตอบแทน


Objective 2: Price Stability

เพื่อลด Sell Pressure ทาง HMX ก็มี Strategies ต่าง ๆ เพื่อพยุงราคา ผ่านกลไกต่าง ๆ  ตามภาพด้านล่าง ตัวอย่างเช่น

  • Protocol Revenue Distribution การแบ่งรายได้ให้ผู้ถือครองที่ Stake $HMX
  • $esHMX จะถูกจ่ายออกมาเป็นรางวัลแต่จะถูกล็อคด้วย Vesting Period ซึ่งและ หากผู้ถือครองเลือกจะขายก็จะทำให้สูญเสียส่วนแบ่งที่ว่าไป
  • Dragon Points หาก Stake $HMX และ $esHMX คู่กันจะได้ DP และเมื่อนำ DP ไป Stake จะทำให้ได้ส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นในรูปของ $USDC
รูปภาพที่ 12: Price Stability on HMX Protocol

HMX Tokens & Their Utilities Summarized in Short

HLP
Obtain:
Deposit GMX’s GLP/USDC ใน HLP vault.
Utility: 65% revenue earnings in USDC เมื่อ staked, benefits จาก GMX countertrading, earns esHMX.

HMX
Obtain:
Launch Event, ซื้อจาก HMX-USDC pool, หรือ vest esHMX.
Utility: Earns 25% share ของ protocol revenue เป็น USDC เมื่อ staked (shared ร่วมกันกับ esHMX & Dragon Points), earns esHMX, 100% APR ของ Dragon Points, governance, and fee discounts.

esHMX
Obtain:
Stake HMX หรือ HLP.
Utility: Earns 25% share ของ protocol revenue เป็น USDC เมื่อ staked (shared ร่วมกันกับ HMX & Dragon Points), earns esHMX & Dragon Points.

Dragon Points (DP)
Obtain:
Stake HMX หรือ esHMX.
Utility: Earns 25% share ของ protocol revenue เป็น USDC เมื่อ staked (shared ร่วมกันกับ esHMX & HMX). DP เทียบเท่า HMX/esHMX ในส่วนของ staking benefits.

Trader’s Loyalty Credits (TLC)
Obtain:
Earn 1 TLC สำหรับทุกๆ $1 trade.
Utility: Weekly HMX rewards,

Fees and Revenues

รูปภาพที่ 13: HMX Fees and Revenue

Price to Sale of HMX

ปัจจุบัน Circulating Supply ของ HMX อยู่ที่ 1,032,675 $HMX หากยึดตัวเลข 1,893,415.07 เป็น Revenue มาคำนวณ เราจะได้ Price to Sale ของ $HMX Token เป็น 0.54

Volume Trade and Fees Growth

รูปภาพ 14: The cumulative trading fee

เราพบว่า Cumulative Trading Volume ของ HMX เพิ่มขึ้นจาก $265M ในเดือนสิงหาคมมาเป็น $5.19B หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 2,000% ภายในระยะเวลา 3 เดือน

โดยหาก Breakdown ในรายละเอียดจะพบว่ามี ยอดเฉลี่ยของ Daily Trading Volume เป็น $112.34M (อ้างอิงจากข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2023)

รูปภาพที่ 15: Trading Volume (All Time) - HMX Protocol

ในช่วงเดือนสิงหาคม เราพบว่าเฉลี่ยแล้ว Platform มีค่า Fee เฉลี่ยอยู่ที่ $3,000 แต่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน Fee โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น $18,000 หรือ 600%

รูปภาพที่ 16: Fee Over Time

Daily Active Users

รูปภาพที่ 17: ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พบว่า มี ค่าเฉลี่ยของ 7 Day Avg. Active User ที่ 198 บัญชี

Comparison with Other Top Derivative DEX

ใน Arbitrum Chain นั้น HMX มี TVL อยู่เป็นอันดับ 3

รูปภาพที่ 18: Comparison with Other Top Derivative DEXs

หากเทียบกับทุก Chain แล้ว HMX อยู่ที่อันดับ 5 จาก 42 Derivatives Protocols เมื่อเรียงลำดับด้วย 24 Hr. Fee and Revenue ตามข้อมูลจาก Defillama และยังคงเป็นอันดับ 5 เมื่อเทียบในส่วนของ 24 Hr Trading Volume

รูปภาพที่ 19: Ranking by Fees and Revenue

โดยข้อมูลชุดนี้ เราจะพบว่า GMX บน Arbitrum เป็นผู้นำด้าน Derivative Trading บน Layer 2 ในขณะที่ dYdX จะเป็นที่นิยมบน Ethereum Mainnet และหาก HMX ยังรักษาระดับผลงานไว้ได้ ในการหา Users เพิ่มก็เป็นที่น่าจับตาเช่นกัน

Deep Dive in Comparison with Other Platform

หากเราลองดึงข้อมูลเฉพาะ Top Dex จากข้างต้นมาเปรียบเทียบแต่ละ Metric เช่น Trading Volume จะพบว่า ยอด Trade ของ HMX นั้นอยู่ในระดับที่สูงมาก

รูปภาพที่ 20: Perpetual Protocol Trading Volume

แต่อาจจะด้วย Marketing Plan ในส่วนของ Low Fee จึงทำให้ Fee โดยรวม ของ Protocol ไม่สูงนัก

รูปภาพที่ 21: Fees Comparison Valume, Fees & Users Comparison

ถัดมาคือ ประเด็นเรื่องของ High Yield สำหรับ Staking และ Activities ต่าง ๆ ของ Protocol นั้น ดึงดูดให้ Token Buyer เปลี่ยนเป็น Holder ได้หรือไม่

รูปภาพที่ 22: HMX Historical Staking

เราพบว่า ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคมเป็นต้นมา ที่ยอด Staking ต่อวันสูงกว่าการ Distribute

Road Map

Q3-Q4 2023 Roadmap

  • Full-scale Launch
  • Launch of Governance Tokens
  • Listing on Key Data Sites: e.g., DefiLlama.
  • Progressive Web App (PWA): Improve HMX's mobile UI
  • Referral Program
  • API for Trading: Python SDK API
  • Cross-chain Expansion: zkSync, Starknet
  • Grow HMX Userbase and Community
  • Bug Bounty Program
  • Info & Analytics Page
  • Governance

Investors

รูปภาพที่ 23: Private Round Investor - HMX Protocol

Private Round นำโดย Coral DeFi, Compound Capital Partners, GuildFi, CryptoMind, Micah Spruill (Angel), Albert Castellana (Angel), Ivan Brightly (Angel) และ Angel Investors อื่น ๆ  ซึ่งไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดแต่อย่างใด

KYC

ไม่ต้องมีการ KYC ก่อนใช้งาน

Audit

HMX ได้รับการ Audit โดย Foobar, WatchPug, และ Cantina. สามารถอ่านรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ [1]

Social networks

Discord: https://discord.com/invite/DDr7r7jjCv
Twitter: https://twitter.com/HMXorg
YouTube: https://www.youtube.com/@HMXorg
Telegram: https://t.me/HMXorg
Docs: https://docs.hmx.org/hmx/
Medium: https://medium.com/hmx-org
Github: https://github.com/hmxorg


Additional Research

Avareum Market Outlook: Global Economics


Download the report here




Avareum Market Outlook: Crypto Market Overall


Download the report here



Avareum Market Outlook: Bitcoin Analysis


Download the report here



Avareum Market Outlook: Ethereum Analysis


Download the report here



Avareum Market Outlook: Layer 2 Scaling Solution


Download the report here




Avareum Market Outlook: LSD & LSDFi


Download the report here





Avareum Market Outlook: Real-World Assets (RWAs)


Download the report here




Download PDF

more reports available at https://www.avareumresearch.com/reports/


Disclaimer: Avareum Research is an independent crypto research firm committed to providing unbiased and informative content. While we strive for complete objectivity, it's important to note that the research industry is inherently complex and may be influenced by various factors. To ensure transparency, we disclose any potential conflicts of interest, such as financial sponsorships or investments in the crypto space. Ultimately, all research and analysis provided by Avareum Research is intended for informational purposes only and should not be considered financial advice. Please consult with a qualified professional before making any investment decisions.

© 2024 Avareum Research. All Rights Reserved. This article is provided for informational purposes only. It is not offered or intended to be used as legal, tax, investment, financial, or other advice.

Read more

Dethrone: From Quantitative Easing to Digital Currencies - What's Next for the Dollar's Status Quo? (TH)

Dethrone: From Quantitative Easing to Digital Currencies - What's Next for the Dollar's Status Quo? (TH)

In the long run we are all dead. - John Maynard Keynes QE กับทฤษฏีเงินเฟ้อ (ตอนที่ 1): Oversupply Always Leads to Devaluation June 2015 นี่คือกฎเศรษฐศาสตร์พื้นฐานที่เราคุ้นเคยกันดี เมื่อน้ำมันล้นตลาด ราคาน้ำมันก็ตกต่ำ เมื่อแรงงานในประเทศมีมากเกินไป ค่

By Avareum Research
Crypto Narrative 2024: Web 3.0 and Blockchain Adoption

Crypto Narrative 2024: Web 3.0 and Blockchain Adoption

Introduction to Web 3.0 and Blockchain Technology ประเด็นสำคัญ Web 3.0 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “Semantic Web” หรือ “Decentralized Web” นับเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในโลกดิจิทัล โดยนำเสนอประสบการณ์ส่วนบุคคล ผ่านระบบสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract)

By Avareum Research