Subscribe to Our Newsletter

Success! Now Check Your Email

To complete Subscribe, click the confirmation link in your inbox. If it doesn’t arrive within 3 minutes, check your spam folder.

Ok, Thanks

Glossary

A


Altcoin

เหรียญอะไรก็ตามที่ไม่ใช่เบอร์ 1 ของตลาด ณ ขณะนั้นคือ altcoin ทั้งหมด บางคนก็จะบอกว่า ตัวอื่นที่ไม่ใช่ bitcoin คือ altcoin. ตัวอย่างเหรียญพวกนี้ก็เช่น ETH LUNA AVAX DOGE เป็นต้น โดยปกติแล้ว การลงทุนในเหรียญประเภทนี้จะมีความเสี่ยงมากกว่า การลงทุนตัวหลัก แต่ก็มีโอกาสที่จะได้กำไรมากกว่าเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีคำที่พ่วงกันก็คือ AltSeason

Alt-Season

เป็นช่วงของการบ่งบอกว่าตลาดมาถึงจุดสูงสุดแล้ว โดยที่จะเป็นการวัดในช่วงที่มูลค่าตลาดคริปโตเติบโตขึ้น แต่ Dominance หรือค่าชีนำของ bitcoin นั้นตกลง  ซึ่งเป็นการบอกว่าเงินกำลังไหลเข้าเหรียญตัวเล็กๆ มากกว่าตัวหลัก ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่มีการสวิงของราคาสูงและคนส่วนใหญ่มักจะบอกว่าเป็นจุดสุดท้ายก่อนที่ตลาดจะพังลงมา

Airdrop

การให้ของฟรีหรือรางวัลฟรี ซึ่งจะให้กับผู้ถืออะไรบางอย่างเช่น coin token หรือ แม้แต่ NFT เพื่อเป็นการตอบแทนหรือคำขอบคุณ แต่บางครั้งก็อาจจะใช้ในการสร้างการตลาดเพื่อเรียกกระแสก็ได้ โดยปกติจะมีการทำสิ่งที่เรียกว่า Snapshot เพื่อให้มีมีวันและเวลาแน่นอนว่าใครจะได้ อย่างไรก็ตามหลังจาก snapshot ก็อาจจะทำให้เกิดการเทขายได้ เพราะผู้ถือบางคนก็อาจจะถือว่าหมดข่าวดีแล้วถึงเวลาขาย

ATH

ย่อมาจากคำว่า All Time High แปลว่าเหรียญตอนนี้ได้ขึ้นไปในราคาสูงสุดที่เคยมีแล้ว

APR 

ย่อมาจาก Annual Percentage Rate คืออัตราดอกเบี้ยที่มีการคิดให้กับเงินที่ให้ยืม หรือ เงินฝากที่ได้ต่อปี โดยที่ไม่มีการนำอัตราทบต้นเข้ามาเกี่ยวข้อง คุณสามารถหาอัตรารายได้รายวันได้ ด้วยการนำ APR/365 เช่น APR 365% จะมีค่าเท่ากับ 1% ต่อวันเป็นต้น คุณสามารถเปลี่ยน APR เป็น APY ได้ง่ายๆ ด้วยการคำนวนผ่านเว็บไชต์นี้ https://www.aprtoapy.com/

APY

ย่อมากจาก Annual Percentage Yield อัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ หรือ เงินฝากที่คิดรวมการทบต้นเข้าไปแล้วและออกมาเป็น % ต่อปี โดยปกติแล้วอัตรา APY มักจะใช้การ platform ประเภท Autocompounding หรือ ทบต้นให้โดยอัตโนมัติและเป็นอัตราสุทธิต่อปี 

Auto Compound

การทบต้นให้โดยอัตโนมัติ โดยในโลก defi มักจะเป็น platform ที่ให้บริการทบต้นโดยอัตโนมัติเช่น Autofarm หรือ Beefy 


B


Bitcoin

เหรียญตัวแรกและเป็นตัวที่มีมูลค่ามากที่สุดในตลาด ณ ตอนนี้เกิดขึ้นในเดือนมกราคม 2009  บิทคอยน์เป็นเหรียญที่คนมักจะใช้ในการวัดสภาพตลาดโดยรวมโดยมีความเชื่อและความคิดที่ว่าถ้า bitcoin ขึ้นตัวอื่นก็จะขึ้นตามและถ้า bitcoin ลงตัวอื่นก็จะลงตาม  นอกจากนี้ bitcoin ยังถูกมองเป็นทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุดในตลาดคริปโต  เปรียบเทียบได้เหมือนกับทองคำดิจิตอล ที่สามารถโอนย้ายให้กันได้ง่ายและมีจำนวนจำกัดเพียง 21 ล้านเหรียญ

Bearish

เป็นภาวะขาลงในระยะสั้น ปกติจะใช้กับภาพระยะสั้นของเทรนของเหรียญ

Bull Market

ตลาดภาวะขาขึ้นในระยะยาว ในช่วงนี้จะมีเงินของนักลงทุนมือใหม่เข้ามาค่อนข้างมาก จะมีความผันผวนของราคาที่สูง

Block

กลุ่มของข้อมูลที่อยู่ภายในบล็อกเชน ในหลักการทำงานของคริปโตเคอเรนซี่แล้ว เพราะคือที่เก็บข้อมูลการทำธุรกรรม ข้อมูลการจ่ายรางวัล อาจจะมีการเก็บข้อมูลอื่นๆขึ้นอยู่กับบล็อกเชนนั้นๆ  โดยที่แต่ละบล็อกจะมี ขนาดจำกัด เมื่อข้อมูลเต็มแล้วก็จะต้องขึ้นบล็อกใหม่

Blockchain

เป็นหนึ่งในวิธีการเก็บข้อมูลที่ใช้กันมากในหลักการของคริปโตเคอเรนซี่ บล็อกเชน คือการที่นำข้อมูลในแต่ละบล็อกมาเชื่อมต่อกัน โดยมีบล็อกก่อนหน้าและบล็อกถัดไป และมีการเข้ารหัส ทำให้หากมีการเปลี่ยนแปลงก็จะทำให้สามารถชี้จุดผิดได้ทันที ทำให้การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน เป็นการทำแบบเพิ่มอย่างเดียวเท่านั้น (Append only)  โดยที่จะไม่สามารถแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตได้

Burn

นี่ไม่ได้แปลว่าการเผาเหรียญ แต่จริงๆแล้วมันคือการส่งเหรียญไปยังที่อยู่ที่ไม่สามารถกู้คืนได้ คือพูดง่ายๆคือการทำลายเหรียญทิ้งออกจากระบบ เพราะมันไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก ในบางครั้งคุณอาจจะต้องเข้าไปเช็คว่ามีเหรียญอยู่ใน address ที่ตายแล้วกี่อัน เพื่อหา circulating Supply ที่แท้จริง  โดยปกติการ burn เหรียญ  ก็ทำไปเพื่อเป็นการลดปริมาณของเหรียญที่อยู่ในตลาดด้วยความคิดที่ว่ามันจะทำให้ราคาขึ้นในระยะยาว

Bottom

Bottom

มักจะเป็นคำพูดที่ใช้เวลาที่นักลงทุนสายกราฟเห็นแล้วว่าตอนนี้ราคาของมันอยู่ในจุดที่ต่ำที่สุดแล้วก็จะเรียกว่า Bottom หรือหลุม และมักจะเป็นจุดที่นักลงทุนสายเก็งกำไรทยอยซื้อกัน

Buy The Dip

การที่บอกว่าเมื่อมีการลงของราคาเราจะทำการเข้าไปช้อนซื้อเหรียญ เพราะมันกำลังถูกกว่าปกติ ยังไงก็ตามก่อนจะ buy the dip หรือ ช้อนหลุม ก็อยากจะให้ศึกษาเหรียญนั้นๆก่อนซื้อด้วยนะ 


C


Concensus

นี่คือวิธีที่ระบบบล็อกเชนนั้นใช้ในการหาฉันทามติ  โดยปัจจุบันมีสองระบบที่เป็นที่นิยมคือ proof of work ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการคำนวนหาค่า Hash ให้ได้ตามความยากที่ระบบกำหนดไว้ หรือ เน้นปริมาณการถืออย่าง Proof of stake  นอกจากนี้ก็ยังมีหลากหลายรูปแบบอื่นๆเช่น Delegated Proof of Stake,  proof of History,  proof of location,  proof of space-time และอื่นๆ

Centralized

ระบบที่มีศูนย์กลางในการควบคุมเช่น บริษัท ธนาคาร รัฐบาล ตัวดำมักจะใช้กับคำที่ว่า centralized Exchange เช่น Binance Bitkub  ระบบที่เป็นแบบเซ็นทรัลก็จะมีข้อดีก็คือหากเกิดปัญหาอะไรเราสามารถให้เขาทำการกู้คืนหรือปลดล็อคให้เราได้เพราะมีคนควบคุมเพียงคนเดียว แต่ข้อเสียก็คือเขาก็สามารถที่จะปิดบัญชีของเราเมื่อไหร่ก็ได้เช่นเดียวกัน

Cryptography

การเข้ารหัสข้อมูลด้วยวิธีการทาง Cryptography เพื่อให้ข้อมูลนั้นไม่สามารถทำการแก้ไขได้ โดยปัจจุบันระบบที่นิยมใช้ในการเข้ารหัสคือ SHA256

Coin

ส่วนใหญ่หากมีการใช้คำว่า coin จะเป็น เหรียญที่มีระบบ blockchain เป็นของตัวเอง และใช้เป็นตัวที่จ่ายค่าทำธุรกรรมหรือ Gas fee

CBDC (Central Bank Digital Currency)

เหรียญที่ออกโดยธนาคารกลางหรือแบงค์ชาติของแค่ละประเทศและจะมีราคาเท่ากับมูลค่าของเงินประเทศนั้นๆ เช่นถ้าเงินบาทออก Baht CBDC 1 เหรียญ ของ Thai Baht CBDC ก็จะมีมูลค่าเท่ากับ 1 บาทไทย อย่างไรก็ตามการนำ CBDC ไปใช้ก็ยังอยู่ในการพัฒนาและยังไม่ได้มีการนำมาใช้ในตอนนี้ อย่างลืมว่า CBDC ก็ไม่ได้ถูกหนุนด้วยทรัพย์สินเช่นทองคำ แต่ก็ยังขึ้นตรงกับเงิน fiat หรือเงินในปัจจุบันและไม่ได้เป็นการสร้างความมั่นคงให้เพิ่มขึ้น 

สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างเงิน CBDC กับเงินสดที่ถือได้ก็คือ เงินสดในปัจจุบันนั้นเราสามารถใช้งานอย่างไรก็ได้ เพราะเราคือผู้ถือเงินสด แต่เงินแบบ CBDC คือเงินประเภท Programmable Money หรือเงินที่สามารถโปรแกรมและตั้งค่าต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นการระบุบัญชีผู้ถือและผู้รับ การแจกจ่ายเงินเฉพาะกิจ การลิมิตวงเงิน การกำหนดเวลาการใช้งาน หรือ แม้แต่การหยุดการใช้งานบัญชีของเราหากรัฐบาลต้องการเพราะทุกอย่างอยู่ภายใต้ระบบ centralised ที่ถูกสร้างขึ้นโดยรัฐบาลทั้งหมด แต่ข้อดีก็คือเราสามารถตรวจสอบธุรกรรมการเงินที่น่าสงสัยที่อาจเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด หรือ ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงินและทำการรับ ปิดกั้นได้ทันทีจากรัฐบาล และทำการตรวจสอบกระแสธุรกรรมย้อนหลังได้ทั้งหมด

เงินแบบ cbdc อาจมีความใกล้เคียงกับตัวเลขเงินดิจิตอลในธนาคารของเรา เพียงแต่ว่าเงินดิจิตอลในธนาคารของเรานั้นยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ CBDC และยังมีธนาคารเป็นเจ้าของอยู่


D


Decentralization

คือการกระจายอำนาจไม่ให้ตกอยู่ใน การตัดสินใจของคนใดคนหนึ่ง  เช่นรัฐบาล ธนาคาร หรือสถาบันการเงินต่างๆแต่เป็นการตัดสินใจโดยภาพรวม โดยอาจจะผ่านกระบวนการโหวตหรือ consensus ที่ทำให้ได้คำตอบหรือแนวทางการทำงานได้จากมติส่วนรวม

Decentralized Finance (DeFi)

ระบบธุรกรรมการเงินที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้ธนาคาร หรือ รัฐบาลมาเป็นคนควบคุม  โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการใช้งานผ่าน Decentralized Application ที่อยู่บนระบบ Blockchain ต่างๆ

Decentralized Applications (DApps)

โปรแกรมที่สร้างและรันฐานข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่บน blockchain โดยสามารถทำให้ผู้ใช้งานสามารถทำธุรกรรมแบบ บุคคลต่อบุคคล ผ่านตัวกลางอย่าง smart contract หรือ สัญญาอัจริยะได้ โดยที่ไม่ต้องพึ่งตัวกลางที่เป็นบุคคลในการตัดสินใจอย่าง ธนาคาร รัฐบาล กระทรวงต่างๆ และทำให้เกิด Decentralized Finance ได้

Distributed Ledger (DLT)

ระบบฐานข้อมูลแบบหนึ่งที่กระจายการจัดเก็บไปไว้ในหลายๆที่ แทนที่จะเก็บไว้ในที่ๆเดียว ทำให้เกิดการกระจายศูนย์กลางทางอำนาจและทำให้เกิดความโปร่งใสในการตรวจสอบ โดยผู้ที่เก็บจะเรียกว่า Node ที่ทำการเก็บข้อมูลธุรกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระบบ blockchain นั้นๆ และฐานข้อมูลนี้จะมีการอัพเดดตัวเองทุกครั้งเมื่อมีการทำ consensus แล้วเมื่อข้อมูลครบ block ซึ่งหากระบบมี node จำนวนมากก็อาจจะต้องใช้เวลาสักพักกว่าที่ทุก node จะอัพเดดข้อมูลครบทั้งหมด โดยเราจะเรียกส่วนนี้ว่า Time to Finality

Double-Spend 

เมื่อผู้ใช้งานพยายามที่จะส่งข้อมูลแต่กลับส่งซ้ำกลับไปสองรอบหรือมากกว่า แทนที่จะรอให้ธุรกรรมอันแรกสำเร็จและได้รับการบันทึกลงในระบบบล้อคเชนก่อน โดยส่วนใหญ่การทำ double spending มักจะเกี่ยวข้องกับการพยายาม hack หรือโจมตีระบบ โดยเป็นการพยายามสร้าง block ใหม่ขึ้นโดยที่เป็น block ที่มีข้อมูลที่ผิดและพยายามทำให้ block นี้ปิด block ได้ไวกว่า block ที่เป็นข้อมูลจริงและทำให้ blockที่มีข้อมูลปลอมนี้ถูกบันทึกลงไปใน blockchain ให้ได้ เพื่อที่ผู้ที่ทำการโจมตีสามารถสร้างธุรกรรมปลอมเพื่อส่งเงินคืนให้กับตัวเอง โดนปกติการทำ double spending attack มักจะมีอีกชื่อว่า 51% attack เนื่องจากมักจะต้องใช้พลังในการคำนวนอย่างมหาศาลเพื่อพยายามชนะ miner คนอื่นๆในระบบให้ได้ โดนล่าสุดเกิดขึ้นกับ Ethereum Classic (ETC) ที่โดน 51% double spending attack

Deflation

เงินฝืด หรือ อัตราการลดตัวของปริมาณเหรียญที่เกิดขึ้นจากการถูกทำลายทิ้ง โดยธรรมชาติเกิดขึ้นได้ทั้งใน Project ที่มีปริมาณจำกัดและปริมาณไม่จำกัด อย่างเช่น eth เป็นโปรเจคที่มีปริมาณไม่จำกัด แต่จะมีการทำลายเหรียญส่วนหนึ่งที่นำมาจ่ายเป็นค่าธรรมเนียมทุกครั้งที่เกิดการทำธุรกรรม หากอัตราการเกิดใหม่น้อยกว่าจำนวนที่ถูกทำลาย เหรียญนั้นก็จะกลายเป็น deflation coin ไปโดยปริยาย


F


FOMO

อารมณ์ที่รู้สึกว่าตกรถ หรือต้องซื้อให้ได้เพราะรู้สึกว่ากำลังจะพลาดกำไรไม้ใหญ่ โดยปกติแล้วมักจะเกิดขึ้นตอนที่นักลงทุนระยะสั้นเห็นแท่งเขียวใหญ่มาแล้วก็รีบเข้าไปซื้อกันเพราะคิดว่าราคาน่าจะวิ่งต่อ อยากจะให้คุณระวังการเทรดลักษณะนี้ไว้เพราะส่วนใหญ่แล้วมักจะเจ็บตัวมากกว่าได้

FORK (Soft/Hard)

ปกติแล้วในการทำระบบ blockchain อาจจะมีจุดนึงที่มีการปรับเปลี่ยน protocol จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานที่แตกต่างจากเดิมไป เมื่อเกิดสิ่งนี้ขึ้นตัวเชนก็จะถูกแบ่งออกเป็นสองเชน โดยที่เชนใหม่ที่เกิดขึ้น ก็จะยังคงมีประวัติการทำงานเดิมอยุ่ เพียงแต่จะเริ่มต้นการใช้กฎใหม่ๆที่ถูกกำหนดขึ้น

โดยปกติแล้วการ fork ของ protocol มักจะเกิดขึ้นเพื่อเพิ่ม feature ใหม่ๆ หรือ ทำให้ระบบมีความปลอดภัยมากขึ้น โดยมีการแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ 

Soft fork 

นี่คือการอัพเดดบล้อคเชนเฉยๆ ไม่ได้มีการแตกออกเป็นสองเชน และ มักจะเป็นแค่การเพิ่ม feature ใหม่ๆที่เข้าไปที่ไม่ได้มากเสียจนทำงานย้อนหลังไม่ได้ การทำ soft fork จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดย่อมๆเท่านั้น (backward compatible)

Hard Fork

หากว่าเชนนั้นกำลังจะต้องทำ hard fork ก็แปลว่าเชนนั้นๆกำลังจะมีการเพิ่มเติมและปรับปรุงที่แก้ไขหนักมากจนไม่สามารถทำงานร่วมกับ บล้อคเดิมๆก่อนหน้าได้ และเมื่อเป็นแบบนี้เชนก็จะถูกแบ่งออกเป็นสองเชน คือเชนเก่า และ เชนใหม่ที่มี feature ใหม่ๆเพิ่มขึ้นมา ซึ่งการทำแบบนี้ก็จะทำให้เกิด blockchain ตัวใหม่ขึ้นอย่างเช่น bitcoin มีการทำ hard fork ออกเป็น Bitcoin Cash และ BitcoinSV

Fiat Money

สกุลเงินประเภทหนึ่งที่มีการใช้งานในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน สิ่งหนึ่งที่จะต้องจำไวเสมอคือคำ่า Fiat นั้นแปลว่า “ตามที่ผู้มีอำนาจจะกำหนด” (determine by authority) ซึ่งโดยปกติแล้ว Fiat Money คือเงินที่ไม่ได้มีการการันตีว่ามีอะไรหนุนหลัง จึงทำให้ค่าเงินของ Fiat นั้นไม่ได้มีมูลค่าที่อิงตาม commodity ต่างๆเช่นทองคำ เพชร หรือ เนื้อเงิน เรียกว่ามูลค่าของ Fiat Money นั้นจึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการขยายอิทธิพลทางการเมืองของเจ้าของสกุลเงินนั้นๆให้มีความจำเป็นในการใช้งาน ยิ่งมีเหตุให้ต้องถือเงินสกุลนี้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้สกุลเงินนี้มีมูลค่าในสายตาของประเทศอื่นมากขึ้น


G


Governance Token

ใช้เป็นเหรียญที่พัฒนาความสามารถมาจาก utility token คือแค่จากการใช้เป็นคะแนนหรือรางวัลแล้วก็ยังสามารถใช้ในการโหวตในระบบ DAO ของ Dapps ต่างๆได้ โดยการ โหวตจะมีผลในการเปลี่ยนแปลงนโยบายของตัว Platform นั้นๆ 


H


Hard Fork

หากว่าเชนนั้นกำลังจะต้องทำ hard fork ก็แปลว่าเชนนั้นๆกำลังจะมีการเพิ่มเติมและปรับปรุงที่แก้ไขหนักมากจนไม่สามารถทำงานร่วมกับ บล้อคเดิมๆก่อนหน้าได้ และเมื่อเป็นแบบนี้เชนก็จะถูกแบ่งออกเป็นสองเชน คือเชนเก่า และ เชนใหม่ที่มี feature ใหม่ๆเพิ่มขึ้นมา ซึ่งการทำแบบนี้ก็จะทำให้เกิด blockchain ตัวใหม่ขึ้นอย่างเช่น bitcoin มีการทำ hard fork ออกเป็น Bitcoin Cash และ BitcoinSV

HODL

ในช่วงที่มีความผันผวนสูงและราคาของเหรียญตกลงอย่างมาก ก็จะมีคำพูดนึงพูดออกมา คือ HOLD ซึ่งย่อมาจาก Hold On To dear life หรือแปลง่ายๆว่า ถือไว้ก่อนนะ อย่าขาย!!


I


Impermanent Loss

“การขาดทุนเสมือนจากการทำตัวเป็นผู้สร้างสภาพคล่อง” หรือ impermanant loss นั้นเกิดขึ้นเมื่อเราทำการสร้าง liquidity ขึ้นมาแล้ว (ผูกเหรียญเข้าด้วยกัน) โดยจะเกิดขึ้นเมื่อ ราคาของเหรียญที่อยู่ใน LP Token นั้น ขึ้นหรือลงตามสภาพตลาด โดยเหรียญตัวนึงอาจจะขึ้นลงในสัดส่วนที่สูงกว่าหรือต่ำกว่าสัดส่วนที่เริ่มต้นในตอนแรก จึงทำให้เกิดการขาดทุนขึ้นเมื่อเทียบกันระหว่างการถือไว้เฉยๆ แบบไม่ได้ผูก LP

Inflation/Emission

อัตราเงินเฟ้อ โดยเกิดขึ้นได้จากเงินทั้งในโลกจริงและเงินในโลกคริปโต โดยจะเกิดขึ้นกับเหรียญที่ไม่ได้มีการล็อคจำนวน Supply เอาไว้ ทำให้มีเหรียญเกิดใหม่ขึ้นได้เรื่อยๆ อัตราการเกิดใหม่ของเหรียญมักจะขึ้นอยู่กับระบบที่มีการได้ตั้งเอาไว้ เช่นบางเหรียญมีการบอกว่าหากมีคนนำมาฝาก/stake ไว้ก็จะลดอัตราการเกิดใหม่ของเหรียญลง โดยปกติแล้วอัตราการเฟ้อนั้นมีผลต่อราคาของเหรียญหากปริมาณของเหรียญเพิ่มขึ้นและความต้องการยังเท่าเดิม ก็จะทำให้ราคาลงได้ เพราะมีเหรียญิดใหม่เข้าในระบบทุกวัน

IMO

เป็นคำย่อที่มักจะใช้บน Twitter โดยย่อมาจาก “In My Opinion” 


L


Liquidity Provider

คือการที่เราทำตัวเองเป็นผู้สร้างสภาพคล่องให้กับ platform ซึ่งได้ทั้งที่เป็น centralized Exchange และ decentralized exchange โดยเราจะได้ค่าคอมมิชชั่นจากการเทรด และอาจจะได้ Farming Incentive ในการทำตัวเองเป็น Liquidity provider ด้วย โดยที่ platform ที่เป็นที่นิยมก็จะมีอย่างเช่น Pancakeswap (BSC) , Biswap (BSC), TraderJoe (AVAX), Quickswap (Polygon) และอื่นๆ อย่างไรก็ตามการทำตัวเองเป็น liquidity provider อาจจะทำให้เจอความเสี่ยงในเรื่องของ “การขาดทุนเสมือนจากการทำตัวเป็นผู้สร้างสภาพคล่อง” หรือ impermanant loss

เมื่อเราทำการเชื่อม Liquidity เข้าด้วยกันแล้ว เราจะได้สิ่งที่เรียกว่า LP Token ขึ้นมาและเราจะเรียกกันว่าการ “ผูกLP” ซึ่ง LP Token นี้จะได้รับส่วนแบ่งจากการแลกเปลี่ยน (Swap) ที่เกิดขึ้น โดยจะขึ้นแล้วแต่ platform นั้นๆ เช่น ในภาพจะได้ 0.17% จากวอลุ่มการเทรดที่เกิดขึ้น หารด้วยสัดส่วนการถือครองของเราใน pool ทั้งหมด และหากเราไป stake ใน dex ที่มีการ incentive ก็อาจจะได้เหรียญอื่นๆเพิ่มเติมได้อีก

สัดส่วนและราคาของ LP Token นั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ เมื่อมีการแลกเหรียญใน platform โดยที่เหรียญที่มีราคาน้อยกว่า


M


Mining

ในหลักการทำงานแบบ proof of work นักขุดหรือ miner มีหน้าที่ในการรวมรวบธุรกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นใน block และทำการหารหัสลับัพื่อเข้ารหัสเพื่อให้ transaction นั้นตรงตามข้อกำหนดตามความยากของเชนที่ได้กำหนดไว้ เช่น ระบบ bitcoin ใช้ระบบ SHA256 และมีการตั้ง difficulty โดยจะต้องมีเลข 0 ด้านหน้าจำนวนห้าตัว เมื่อ miner รับ broadcast จนครบ block แล้วก็จะทำการสุ่มรหัสลับ (nounce) จาก 0 1 2 3 … ไปเรื่อยๆจนรหัส cryptographic ที่ออกมาของ blockนั้นๆ ขึ้นต้นด้วยเลข 0 ครบตามที่ระดับความยากของ bitcoin network ได้กำหนดไว้ miner ที่ทำสำเร็จเป็นคนแรกจะได้รับรางวัลเป็น bitcoin และข้อมูลก็จะถูก broadcast ให้กับ node เพื่อบันทึกลง block ของตัวเองต่อไป

Meme Coin

ในโลกของคริปโตเคอเรนซี่มีโปรเจคมากมายที่เกิดขึ้นด้วยจุดประสงค์ที่จะแก้ไขปัญหาบางอย่าง อย่างไรก็ตาม บาง project ก็เกิดขึ้นมาโดยที่ไม่ได้คิดว่าจะต้องแก้ไขปัญหาอะไร เป็นเพียงการทำขึ้นมาสนุกๆ หรือเป็นเพียงการทำขึ้นมาเพื่อตอบสนองกระแสอะไรบางอย่างเท่านั้น เหรียณเหล่านี้ไม่มีการใช้งานจริง แล้วก็พูดได้ว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาเพื่อความสนุกเพียงอย่างเดียว เช่น dogecoin shibainu saitama elondoge Safemoon และอื่นๆ

Metamask

เป็นกระเป๋า online บนตัวเวปไซด์ที่ใช้เก็บเหรียญ Crypto จัดเป็นกระเป๋าแบบ Hot Wallet


P


Proof of Work (PoW)

หนึ่งในวิธีการตรวจสอบและลงฉันทามติให้กับระบบแบบกระจายศูนย์ โดยเป็นการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลเพื่อพยายามหาคำตอบให้กับสมการทางคณิตศาตร์โดยนำธุรกรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมด มาบวกเข้ากับตัวเลขสุ่มไล่ตั้งแต่ 0 1 2 3 4….. ไปเรื่อยๆ จนได้คำตอบสมการที่ถูกต้องตามที่ระบบได้มีการกำหนดไว้ ผู้ที่ค้นพบคำตอบให้กับสมการนี้เป็นคนแรกจะได้รับรางวัลเป็นเหรียญของ protocol นั้นๆ และจะได้ทำการปิด block และกระจายคำตอบให้กับ node เพื่อทำการบันทึกข้อมูล สิ่งที่ทำให้ระบบ proof of work นั้นมีความปลอดภัยค่อนข้างมากก็คือการที่คนที่ต้องการจะ hack ระบบจะต้องมีทรัพยากรมหาศาลเพื่อที่จะแข่งให้ชนะคนทั้งหมดที่ทำตัวเองเป็น miner 

ในปัจจุบันมีเหรียญจำนวนหนึ่งที่ใช้ระบบ POW นี้อยู่เช่น bitcoin ltc dogecoin และ eth โดยที่ bitcoin ใช้ POW ที่เข้ารหัส (Hashing) แบบ SHA-256 ที่เป็นประเภท non reversible คือไม่สามารถแก้ไขย้อนหลังได้ด้วยสมการต่างๆ คุณสามารถเข้าไปทดลอง SHA-256 ได้ที่นี่ https://passwordsgenerator.net/sha256-hash-generator/

Proof of Stake (PoS)

วิธีการตรวจสอบและลงฉันทามติอีกรูปแบบหนึ่งโดยแทนที่จะใช้ทรัพยาการคอมพิวเตอร์ใรการประมวลผลจะเปลี่ยนมาเป็นการคัดเลือกผู้ที่จะมีสิทธิในการทำการปิด block นั้นๆจากปริมาณที่ถือครอง โดยคนถือครองมากก็จะมีโอกาสได้รับเลือกเป็นผู้ที่ทำการปิด block

ในบางระบบก็จะมีการตั้งค่าไว้ว่า หากผู้ที่ถือครองอันดับ 1 นั้นได้รับเลือกไปแล้วใน block ที่แล้ว ก็จะไม่สามารถทำการปิด block ในรอบถัดไปได้อีกเพื่อป้องกันไม่ให้มีใครได้เปรียบระบบมากเกินไป 

สิ่งที่ต้องระวังเกี่ยวกับระบบ proof of stake นี้ก็คือการทำ 51% attack นั้นสามารถทำได้ง่ายกว่า proof of work เพราะเปลี่ยนจากการลงทุนกับทรัพยากร มาเป็นการถือครองแทน อย่างไรก็ตามหลายๆ protocol ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนนี้ให้มากกว่า 51% ด้วย


S


Snapshot

การเก็บประวัติหรือการบันทึกข้อมูล ณ เวลาที่กำหนดไว้ เพื่อใช้ทำอะไรบางอย่าง ปกติจะใช้ในการแจก Airdrop แต่ในบางครั้งก็มีการใช้ snapshot เพื่อทำการจ่ายเงินหรือจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับระบบ โดยมักจะใช้คำว่า “The snapshot has been taken” 

Soft Fork

นี่คือการอัพเดดบล้อคเชนเฉยๆ ไม่ได้มีการแตกออกเป็นสองเชน และ มักจะเป็นแค่การเพิ่ม feature ใหม่ๆที่เข้าไปที่ไม่ได้มากเสียจนทำงานย้อนหลังไม่ได้ การทำ soft fork จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดย่อมๆเท่านั้น (backward compatible)

Smart Contract

ระบบสัญญาที่อยู่บนโลก blockchain โดยจะทำงานตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ตามที่กำหนดเท่านั้นโดยไม่จำเป็นต้องใช้คนในการอนุมัติให้ทำงาน ในการใช้งาน smart contract ใดๆ ผู้ที่ต้องการจะใช้งานจะต้องทำการอนุมัติให้ smart contract เหล่านั้นมีสิทธิในการเข้าถึงเหรียญหรือส่วนต่างๆหรือทั้งหมดของกระเป๋า wallet ของผู้ใช้งาน

ผู้จัดทำขอเตือนว่ากรุณาอย่ากด smart contract ที่คุณไม่รู้จัก หรือ ดูน่าสงสัย เพราะมันอาจจะเป็นการให้สิทธิการเข้าถึงเงินทั้งหมดของคุณกับคนที่คุณไม่รู้จักได้เช่นกัน

Shitcoin

ปกติมักจะใช้คู่กับพวก Memecoin หรือเหรียญที่ไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาอะไร เกิดขึ้นมาขำๆ สนุกๆ โดยไม่ได้มีจุดประสงค์ 

แต่บางคนก็อาจจะบอกว่า เหรียญบางเหรียญอาจจะเป็น Shitcoin ได้เช่นกันเช่น คนที่เป็น BTC Maximalist อาจจะมองว่าเหรียญอื่นๆที่ไม่ใช่ BTC เป็น SHITCOIN ก็ได้เช่นกัน


T


Token

โดยปกติจะเป็นเหรียญที่ไม่ได้มีบล้อคเชนเป็นของตัวเอง และมีการแบ่งแนกจำแนกไปอีกคือ 

Utility token

ใช้เป็นเหมือนแต้ม หรือเป็นคะแนนในการทำอะไรบางอย่างในระบบ อาจจะไม่ได้มีคุณค่าอะไร และอาจมองได้ว่าเป็นเหมือน farming/ reward token คือเป็นแค่เหรียญรางวัลในระบบ

Governance Token

ใช้เป็นเหรียญที่พัฒนาความสามารถมาจาก utility token คือแค่จากการใช้เป็นคะแนนหรือรางวัลแล้วก็ยังสามารถใช้ในการโหวดในระบบ DAO ของ Dapps ต่างๆได้

Trading Volume

ปริมาณการซื้อและขายในแต่ละวันรวมกัน หรือ ตามห้วงเวลาที่กำหนด เช่น 7วัน 14วัน 

โดยปกติแล้ว trading volume จะใช้ในการวัดความต้องการและความนิยมของเหรียญนั้นๆ เหรียญใดที่มี trading volume สูงมักจะเป็นเหรียญที่สามารถนำไปซื้อขายได้ง่ายและสะดวกเพราะเป็นที่ยอมรับและมีการซื้อกันกันอย่างต่อเนื่องทุกวัน


U


Utility Token

ใช้เป็นเหมือนแต้ม หรือเป็นคะแนนในการทำอะไรบางอย่างในระบบ อาจจะไม่ได้มีคุณค่าอะไร และอาจมองได้ว่าเป็นเหมือน farming/ reward token คือเป็นแค่เหรียญรางวัลในระบบ

Unrekt

หนึ่งในเว็บไชต์ที่ใช้ในการเช็คว่า wallet ของคุณมีการไปเชื่อมต่อกับ smart contract อะไรบ้างและคุณสามารถที่จะ revoke หรือ ยกเลิกการเชื่อมต่อ smart contract เหล่านั้นผ่านเว็บไชต์นี้ได้

https://app.unrekt.net/


W


Wallet

ในโลกของคริปโตนั้นจะมีการสร้าง Address หรือที่อยู่ที่ใช้ในการเก็บเหรียญต่างๆของผู้ใช้ในระบบ Blockchain ของแต่ละเชน ซึ่งเมื่อมีการสร้างขึ้นมาแล้วก็จะมีการเก็บประวัติการทำธุรกรรมของกระเป๋านั้นๆลงบนเชนด้วย ในการสร้าง Crypto wallet จะตามมาด้วยรหัส Private key ซึ่งเป็นเหมือนรหัสผ่านของกระเป๋าเงินของเรา คนที่ได้รหัสนี้ไปก็จะสามารถเข้าถึงและใช้งานกระเป๋าเงินเราได้เหมือนเราเป็นเจ้าของ ความยาวของรหัส private key นี้ก็จะข้ึนอยู่กับแต่ละ blockchain นั้นๆ ปัจจุบันเมื่อมีการเปิดกระเป๋าใหม่ผ่านระบบอย่าง Metamask, Kelpr Wallet, Phantom wallet หรือ กระเป๋ายอดนิยมอื่นๆ ก็อาจจะมีคำทั่วๆไปที่เรียกว่า Seed Phrase หรือ Recover Code จำนวน 12 คำหรือ 24 คำที่ใช้ในการกู้คืนแทนการจดจำ privatekey ด้วย โดย Wallet นั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบหลักๆในปัจจุบัน คือ Hot และ Cold Wallet อย่างไรก็ตามทั้งสองรูปแบบของกระเป๋านี้หากมีงานเข้าไปใช้งานกับ Smart Contract อื่นๆ ทำให้อาจจะเกิดความเสี่ยงในการถูกโจมตีและมีความเสี่ยงในการถูกโจรกรรมได้ทั้งคู่ นอกจากนี้เราจะพูดถึงอีกรูปแบบก็คือ Exchange Wallet ด้วย

Hot wallet

คือกระเป๋าที่ Private key ถูกสร้างขึ้นออนไลน์ โดยที่ไม่ได้มีระบบในการป้องกันใดๆ และมีการเชื่อมต่อกับ Internet ทำให้สามารถใช้งานกับโลก Defi ได้สะดวก สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้งานจะต้องทราบเสมอคือกระเป๋า Hot wallet นั้นมีความเสี่ยงมากกว่ากระเป่าประเภทอื่น เพราะเป็นกระเป๋าที่ไม่ต้องใช้รหัสผ่านพิเศษอย่างที่ Cold wallet มีและสามารถทำการโอนเงินเข้าออกได้ทันที

Cold wallet หรือ Hardware wallet

เป็นกระเป๋าที่รหัสผ่านถูกสร้างไว้บนอุปกรณ์พิเศษ โดย privatekey และ seed ถูกสร้างไว้ offline ในการเชื่อมต่อและทำการอนุมัติให้เกิดธุรกรรมจะต้องใช้ อุปกรณ์เหล่านี้ในการกดอนุมัติ ซึ่งทำให้มีความปลอดภัยมากกว่า hot wallet อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้ ช่วยหาคุณถูกโจรกรรม ผ่าน smart contract

Whale

เป็นคำที่ใช้สำหรับเรียกคนที่มีเงินมากหรือครอบครอง % ของเหรียญนั้นๆไว้เป็นจำนวนมาก โดยสัดส่วนในการเป็น whale นั้นจะแตกต่างกันไปตาม marketcap ของเหรียญ